Wednesday, February 15, 2017

รู้จักดินปลูก การบำรุงดินก่อนปลูกผัก จากกรมวิชาการเกษตร

รู้จักดินปลูก การบำรุงดินก่อนปลูกผัก จากกรมวิชาการเกษตร

จะทราบได้อย่างไรว่าดินนี้เหมาะสมต่อการปลูกพืช ดิน เป็นที่อยู่ของรากพืชซึ่งทำหน้าที่ดูดน้ำและอาหารไปเลี้ยงส่วนต่างๆของลำต้น ที่อยู่เหนือดิน รากพืชต้องใช้พลังงานซึ่งได้จากการหายใจในการดูดน้ำและอาหารจากดิน ดังนั้น ดินที่เหมาะสมต่อการปลูกพืชจะต้องเป็นดินที่มีการระบายน้ำและถ่ายเทอากาศดี ( การแลกเปลี่ยนออกซิเจนระหว่างอากาศในดินและอากาศเหนือดินเกิดขึ้นได้ดี ) และมีธาตุอาหารที่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของพืช นอกจากนี้ ยังควรมีระดับความเป็นกรด - ด่างที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและการละลายได้ของธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการ เจริญเติบโตและให้ผลผลิตของพืช ถ้าพืชมีการเจริญเติบโตไม่ดี ปัจจัยแรกที่ควรพิจารณาคือระบบรากของพืช เกษตรกรควรตรวจดูว่ารากมีการเจริญเติบโตเป็นอย่างไร มีปัจจัยแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและการทำงานของรากหรือไม่ โครงสร้างของดินและความสมบูรณ์ของดินมีผลต่อการเจริญเติบโตและการทำงานของ รากเป็นอย่างมาก การใช้มือจับหรือสัมผัสก้อนดินสำหรับผู้ที่มีความชำนาญแล้วสามารถบอกถึงโครง สร้างหรือความร่วนซุยของดินได้อย่างหยาบๆ แต่การวิเคราะห์ดินจะบอกได้ว่าดินนี้เหมาะสมต่อการปลูกพืชหรือไม่ เกษตรกรควรต้องมีการปรับปรุงดินอย่างไรให้เหมาะสมกับความต้องการของพืชที่จะ ปลูก นอกจากนี้ การวิเคราะห์ดินยังสามารถบอกถึงปริมาณธาตุอาหารต่างๆที่มีอยู่ในดิน ทำให้เกษตรกรทราบได้ว่าควรต้องมีการใส่ปุ๋ยเพิ่มแก่พืชหรือไม่ และควรจะใส่ปุ๋ยอะไร

การเก็บตัวอย่างดินเพื่อวิเคราะห์ 

การ เก็บตัวอย่างดินเพื่อการวิเคราะห์นั้นเกษตรกรควรเก็บตัวอย่างให้เป็นตัวแทน ที่ดีของพื้นที่ที่จะเพาะปลูก ( ภาพที่ 1) การเก็บตัวอย่างผิดหรือไม่เป็นตัวแทนที่ดีจะไม่ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ใน การปรับปรุงดิน เป็นการเสียเวลา และค่าใช้จ่ายโดยเปล่าประโยชน์

การเก็บตัวอย่างดินก่อนปลูก

ก่อนการเก็บตัวอย่างดินนั้นเกษตรกรควร มีข้อมูลพื้นฐานของพืชที่จะปลูกก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งความลึกของระบบราก เพื่อที่จะได้เก็บตัวอย่างดิน ตามความลึกของระบบราก พืชที่จะปลูก เช่น พืชมีระบบรากลึก 30 ซม . แต่รากส่วนใหญ่แผ่กระจายบริเวณใกล้ผิวดิน การเก็บตัวอย่างก็ควรแบ่งเป็น 2 ระดับความลึก คือ 0- 15 ซม . และ 15- 30 ซม . ก่อนเก็บตัวอย่างควรถากหญ้าที่ผิวดินออกก่อนแล้วใช้สว่านเจาะดินระดับ 0-15 และ 15- 30 ซม . ควรเจาะดินจากหลายๆจุดแล้วนำดินที่เจาะที่ระดับความลึกเดียวกันมาผสมรวมกัน ก่อนแบ่งมาเพียงตัวอย่างละ 0.5 กก . เพื่อส่งวิเคราะห์ ดินที่เก็บมาควรใช้เป็นตัวแทนของดินทั้งสวนได้ ถ้าสวนมีพื้นที่ใหญ่มากก็ควรแบ่งพื้นที่สวนออกเป็นแปลงเล็กก่อน เช่น แบ่งเป็นแปลงละประมาณ 10 ไร่ และในพื้นที่ 10 ไร่นี้ก็ใช้สว่านเจาะดินประมาณ 20 จุด แล้วนำดินที่เจาะได้มาผสมรวมกัน แล้วแบ่งส่งวิเคราะห์ประมาณ 0.5 กก . ถ้าไม่มีสว่านเจาะดินก็ใช้จอบขุดดินแทนได้โดยใช้จอบขุดดินลึกเป็นรูปสาม เหลี่ยมแล้วใช้พลั่วมือค่อยๆแซะดินจากผิวดินลึกลงไปตามความลึกของหลุมที่ขุด ไว้ ทำแบบเดียวกันนี้หลายๆจุด นำดินที่ขุดได้มาผสมรวมกันแล้วแบ่งส่งวิเคราะห์ประมาณ 0.5 กก . เช่นเดียวกัน

การเก็บตัวอย่างดินหลังปลูก

ควรเก็บดินใต้ทรงพุ่มของต้น โดยเก็บดินบริเวณชายพุ่ม เก็บรอบต้นประมาณ 3-4 จุด และเก็บจากหลายๆต้นมารวมกันแล้วแบ่งส่งวิเคราะห์ประมาณ 0.5 กก . เกษตรกรอาจแบ่งสวนเป็นแปลงเล็กก่อนเก็บดินแบบเดียวกับการเก็บตัวอย่างดิน ก่อนปลูกก็ได้ สำหรับระดับความลึกที่ควรเก็บขึ้นอยู่กับความลึกของระบบราก ถ้าต้นไม้ผลยังเล็กอยู่ก็เก็บดินลึก 15 หรือ 30 ซม . เมื่อต้นโตขึ้นและรากเจริญเติบโตมากขึ้นก็ควรเก็บตัวอย่างดิน 2 ระดับความลึก โดยเก็บที่ระดับความลึก 0-15 และ 15-30 หรือ 0-30 และ 30- 60 ซม . แล้วแต่ความลึกของระบบราก เกษตรกรควรเก็บดินวิเคราะห์ทันทีหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตเสร็จแล้วเพื่อตรวจ ดูคุณสมบัติของดินและระดับธาตุอาหารในดินว่าเป็นอย่างไร เกษตรกรจะต้องมีการจัดการหรือปรับปรุงดินอย่างไรให้เหมาะสมกับความต้องการ ของพืช

ส่วนประกอบของดินที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของพืช


ดินที่ดีควรมีส่วนที่เป็นของแข็ง 50% ซึ่งประกอบด้วยส่วนที่เป็นอนินทรียสาร 45% และอินทรียสาร 5% และส่วนที่เป็นน้ำ และอากาศอย่างละ 25% โดยปริมาตร สำหรับสัดส่วนของน้ำและอากาศนั้นจะผันแปรตามสภาพการให้น้ำหรือการตกของฝนและ ความสามารถในการระบายน้ำหรือดูดยึดน้ำของดิน เช่น หลังการให้น้ำหรือฝนตกใหม่ๆส่วนน้ำจะมีมากกว่าส่วนของอากาศ แต่เมื่อดินแห้งส่วนของอากาศจะมากกว่าส่วนที่เป็นน้ำ เป็นต้น องค์ประกอบต่างๆของดินเหล่านี้มีคุณสมบัติหรือหน้าที่ที่แตกต่างกัน ดังนี้คือ
?? อนินทรียสาร เป็นแหล่งกำเนิดของธาตุอาหารของพืชและจุลินทรีย์ดิน และเป็นส่วนที่ควบคุมลักษณะเนื้อดิน
?? อินทรียสาร เป็นแหล่งพลังงานของจุลินทรีย์ดิน และเป็นส่วนที่ควบคุมโครงสร้างของดิน
?? น้ำ ให้น้ำแก่พืชและเป็นตัวทำละลายธาตุอาหารต่างๆในดินเพื่อให้รากพืชดูดไปใช้ประโยชน์ได้
?? อากาศ ให้ออกซิเจนแก่รากพืชใช้ในการหายใจและช่วยในขบวนการย่อยสลายของวัสดุ อินทรีย์โดยจุลินทรีย์ดิน ดินที่มีน้ำขัง ดินที่มีปริมาณอนุภาคดินเหนียวที่มีการพองตัวมากจนช่องอากาศเล็กลงเมื่อดิน เปียก และขบวนการย่อยสลายวัสดุอินทรีย์เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ออกซิเจนในดินลดลง

โครงสร้างดินไม่ดีควรทำอย่างไร?

โครงสร้างดิน เป็นการเกาะตัวกันของอนุภาคดินเป็นเม็ดดินหรือก้อนดิน มีขนาดเล็กขนาดเม็ดทรายหรือขนาดใหญ่หลายเซนติเมตร ซึ่งอาจเกิดขึ้นโดยธรรมชาติ หรือเกิดจากการไถพรวน ช่องว่างที่เกิดขึ้นระหว่างก้อนดินจะมีขนาดใหญ่เป็นที่อยู่ของอากาศ แต่ช่องว่างภายในก้อนดินจะมีขนาดเล็กเป็นที่อยู่ของน้ำทำให้ดินมีคุณสมบัติ ในการอุ้มน้ำไว้ได้ อนุภาคดินที่มีการเกาะตัวกันอย่างดีจะมีช่องขนาดใหญ่และมีความต่อเนื่องของ ช่องทำให้รากพืชเจริญเติบโตได้ดี ดินแน่นทึบเกินไปจะมีการระบายน้ำไม่ดี หรือดินโปร่งเกินไปก็จะไม่อุ้มน้ำ ฮิวมัสจัดเป็นสารเชื่อมอนุภาคดินให้เกาะตัวกันได้ดี ดังนั้นการเพิ่มอินทรีย์วัตถุให้แก่ดินเหล่านี้จะช่วยให้ดินมีโครงสร้างที่ ดีขึ้น ดินที่แน่นทึบก็จะร่วนซุยขึ้น มีการระบายน้ำดีขึ้น ส่วนดินทรายเนื้อหยาบก็จะมีการเกาะตัวกันมากขึ้น ทำให้มีการอุ้มน้ำได้มากขึ้น ดินดูดซับธาตุอาหารไว้ได้มากขึ้น การเพิ่มอินทรีย์วัตถุให้แก่ดินทำได้โดยการใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก การปลูกพืชตระกูลถั่วแล้วไถกลบเป็นปุ๋ยพืชสด และวัสดุอินทรีย์อื่นๆ

ความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำควรทำอย่างไร


พืชมีความต้องการธาตุอาหารในการเจริญ เติบโตและให้ผลผลิต ธาตุอาหารที่จำเป็นสำหรับพืชมีอยู่ด้วยกัน 16 ธาตุ คือ คาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจน ซึ่งพืชได้มาจากอากาศและน้ำ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม กำมะถัน เหล็ก แมงกานีส ทองแดง โบรอน สังกะสี โมลิบดีนัม และ คลอรีนซึ่งพืชได้มาจากดิน อินทรีย์วัตถุในดินเป็นแหล่งสะสมหลักของธาตุอาหารที่มีประจุลบ (nutrient anions) ในปริมาณมาก การสลายตัวของอินทรีย์วัตถุโดยกิจกรรมของแบคทีเรีย รา และแอคติโนมัยซิสจะทำให้ธาตุอาหารเหล่านี้เป็นประโยชน์ต่อพืชได้ 95% ของไนโตรเจน 50% หรือมากกว่าของฟอสฟอรัส และ 80% ของกำมะถันทั้งหมดในดินเป็นองค์ประกอบอยู่ในอินทรีย์วัตถุ นอกจากนี้ แหล่งสะสมของโบรอน และโมลิบดีนัมในดินก็อยู่ในอินทรีย์วัตถุ และยังดูดซับอยู่กับออกไซด์ของเหล็กและอะลูมินัม และสารประกอบไฮดรอกไซด์
เนื่องจากธาตุอาหารในดินที่อยู่ในรูป ของสารละลายดินจะถูกดูดไปโดยรากพืช ธาตุอาหารเหล่านี้จะถูกทดแทนได้จากธาตุต่างๆที่ดูดซับอยู่ที่แร่ดินเหนียวใน ดิน และที่ฮิวมัสโดยขบวนการแลกเปลี่ยนประจุ (cation exchange) หรือโดยการสลายตัวอย่างช้าๆของแร่ธาตุในดินและโดยการสลายตัวอย่างรวดเร็วของ อินทรีย์วัตถุในดิน อย่างไรก็ตาม อัตราการทดแทนของธาตุอาหารเหล่านี้ช้ากว่าอัตราที่พืชดูดไปจากดินเพื่อใช้ใน การเจริญเติบโตและสร้างผลผลิต ดังนั้น เมื่อตรวจพบว่าปริมาณธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตของ พืชในดินมีอยู่น้อย เกษตรกรควรต้องเพิ่มธาตุอาหารให้แก่ดินในรูปของปุ๋ย

ปุ๋ยคืออะไร

ปุ๋ย คือสารอินทรีย์หรืออนินทรีย์ใดๆที่ใส่ในดินแล้วให้ธาตุอาหารพืช แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
?? ปุ๋ยอินทรีย์ ได้แก่ ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก และปุ๋ยพืชสด
?? ปุ๋ยคอก ได้แก่มูลสัตว์ต่างๆ เป็นแหล่งสำคัญของอินทรียวัตถุและธาตุอาหารพืช
?? ปุ๋ยหมัก ได้แก่ การนำเศษพืชต่างๆมาหมัก เศษพืชที่มีค่า C/N ratio กว้างจะย่อยสลายได้ช้า ดังนั้น จึงมีการเติมธาตุอาหารไนโตรเจนให้แก่กองปุ๋ยหมัก ในการหมักสัดส่วนของคาร์บอน / ไนโตรเจนจะต้องแคบเข้าจนกระทั่งมีค่าประมาณ 15/1 จึงจะสามารถนำไปใส่ให้แก่พืชได้โดยที่ไม่มีการแย่งธาตุอาหารไนโตรเจนในดิน จากพืช นอกจากนี้ในระหว่างการหมักอาจมีการเติมธาตุอาหารอื่นๆนอกเหนือจากการเติม ธาตุไนโตรเจน
?? ปุ๋ยพืชสด ได้แก่ พืชตระกูลถั่วต่างๆที่ถูกไถกลบลงไปในดิน พืชตระกูลถั่วมีแบคที่เรียอาศัยอยู่ที่รากและสามารถตรึงไนโตรเจนจากอากาศได้ โดยปกติจะไถกลบเมื่อพืชตระกูลถั่วกำลังออกดอกเพราะเป็นระยะที่พืชตระกูลถั่ว มีธาตุอาหารอยู่ในต้นสูงที่สุด การเพิ่มอินทรียวัตถุแก่ดินโดยการใช้ปุ๋ยพืชสดเป็นวิธีการที่นิยมใช้ปรับ ปรุงดินก่อนการปลูกพืชเพราะสามารถทำได้ง่าย ประหยัดค่าใช้จ่าย และเป็นการเพิ่มธาตุอาหารไนโตรเจนแก่ดิน
?? ปุ๋ยอนินทรีย์ ได้แก่ปุ๋ยเคมีต่างๆซึ่งสามารถแบ่งออกได้ตามชนิดของธาตุอาหารที่เป็นองค์ประกอบหลักของปุ๋ยนั้นๆ
?? ปุ๋ยที่ให้ธาตุอาหารหลัก คือ ปุ๋ยไนโตรเจน (46-0-0, 21-0-0, 15-0-0) ปุ๋ยฟอสฟอรัส (0-46-0, 0-20-0, 18-46-0, 0-52-34, 0-3-0) ปุ๋ยโพแทสเซียม (0-0-60, 0-0-50, 13-0-46)
?? ปุ๋ยที่ให้ธาตุอาหารรองซึ่งส่วนใหญ่เป็นวัสดุปูนที่ใช้ในการเกษตร เช่น ปูนขาว ปูนโดโลไมท์ หินปูนบด หินฝุ่น และที่อยู่ในรูปของปุ๋ยและสารเคมี เช่น แคลเซียมไนเตรท แคลเซียมคลอไรด์ แคลเซียมซัลเฟต ( ยิบซั่ม ) แมกนีเซียมซัลเฟต ( ดีเกลือ กลีเซอร์ไรท์ ) และผงกำมะถัน
?? ปุ๋ยที่ให้จุลธาตุอาหารซึ่งพืชต้องการใช้ในปริมาณน้อย ส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของปุ๋ยเกล็ดที่มีทุกธาตุรวมกันสำหรับใช้พ่นทางใบ แต่ที่อยู่ในรูปสารเคมีที่ใช้เป็นปุ๋ยเดี่ยวให้ทางดินและใบได้ คือ ทองแดง ( คอปเปอร์ซัลเฟต ) โบรอน ( บอแรกซ์ กรดบอริค ) เหล็ก ( เหล็กซัลเฟต ) แมงกานีส ( แมงกานีสซัลเฟต แมงกานีสคลอไรด์ ) และสังกะสี ( สังกะสีซัลเฟต สังกะสีออกไซด์ ) และอยู่ในรูปของสารประกอบคีเลทที่มีราคาแพง เช่น เหล็กคีเลท และแมงกานีสคีเลท เป็นต้น


ข้อควรคำนึงในการใส่ปุ๋ย?


ในการ ใส่ปุ๋ยแก่พืชเกษตรกรไม่ควรใส่ชิดโคนต้นแต่ควรใส่ให้ห่างโคนต้นอย่างน้อย 30 ซม . หรือในกรณีที่พืชมีทรงพุ่มขนาดใหญ่ เกษตรกรควรใส่ปุ๋ยโดยการหว่านโดยรอบทรงพุ่มจากบริเวณชายพุ่มเข้ามาถึงประมาณ ครึ่งหนึ่งของรัศมีทรงพุ่ม ( ภาพที่ 2) และเพื่อให้การใส่ปุ๋ยแต่ละครั้งมีการสูญเสียน้อยและพืชได้รับประโยชน์มาก ที่สุด เกษตรกรควรปฏิบัติดังนี้
1. เลือกชนิดของปุ๋ยที่ใส่ให้ถูกต้อง (right kind)
2. ใส่ปุ๋ยในปริมาณที่พอเหมาะ (right amount)
3. ใส่ปุ๋ยในเวลาที่พืชต้องการ (right time)
4. ใส่ปุ๋ยในบริเวณที่พืชเอาไปใช้ได้ง่าย (right place)

หลักการให้ธาตุอาหารแก่พืช 

เกษตรกรต้องเข้าใจว่า
?? ในบรรดาธาตุอาหารที่พืชต้องการไม่ว่าจะมากหรือน้อย ธาตุที่มีอยู่น้อยจะเป็นตัวจำกัดการเจริญเติบโตของพืช หรืออาจกล่าวได้ว่าพืชจะมีการตอบสนองต่อธาตุอาหารที่ใส่เมื่อดินขาดธาตุนั้น หรือมีธาตุนั้นอยู่ในปริมาณที่ต่ำ
?? การที่ใส่ธาตุอาหารเพิ่มแล้วมีการตอบสนองเพียงเล็กน้อยไม่ได้หมายความว่าถ้า ใส่ธาตุอาหารให้มากขึ้นพืชจะมีการตอบสนองมากขึ้น หรือมีการเจริญเติบโตมากขึ้น

จะทราบได้อย่างไรว่าพืชขาดอาหาร?

ลักษณะการขาดธาตุอาหารแต่ละชนิดของพืช เป็นลักษณะที่เฉพาะเจาะจง โดยทั่วๆไป อาการผิดปกติมักปรากฏที่ใบและถ้าขาดรุนแรงอาการจะปรากฏที่ผล เนื่องจากธาตุอาหารต่างๆมีความสามารถในการเคลื่อนย้ายในต้นพืชได้แตกต่างกัน อาการผิดปกติที่ใบเนื่องจากการขาดธาตุอาหารต่างกันจะปรากฏในตำแหน่งใบที่ ต่างกัน แต่เมื่ออาการผิดปกติเหล่านี้ปรากฏให้เห็นย่อมหมายถึงว่าอาการขาดธาตุอาหาร นั้นๆอยู่ในระยะที่รุนแรง พืชที่เริ่มขาดอาหารมักไม่ปรากฏอาการผิดปกติใดๆให้เห็นแต่จะมีผลกับปริมาณ และคุณภาพของผลผลิต การวิเคราะห์พืช เป็นวิธีการที่บอกให้ ทราบว่าพืชที่ปลูกอยู่นั้นเริ่มขาดอาหารหรือยัง แต่การแปลผลค่าวิเคราะห์พืชจะมีความถูกต้องและเกิดประโยชน์ได้นั้นต้องเริ่ม จากการเก็บตัวอย่างที่ถูกต้อง เกษตรกรควรปรึกษานักวิชาการเกษตรเพื่อขอคำแนะนำในการเก็บตัวอย่างที่ถูกต้อง


Advertisment



การวินิจฉัยและการคาดคะเนการขาดธาตุอาหาร

เกษตรกรสามารถวินิจฉัยหรือคาดคะเนการ ขาดธาตุอาหารในพืชได้โดยการสังเกตการเจริญเติบโตหรืออาการผิดปกติของพืช จากการวิเคราะห์ธาตุอาหารในดิน และจากการวิเคราะห์ธาตุอาหารในพืช อย่างไรก็ตาม แต่ละวิธีก็มีข้อดีและข้อจำกัดแตกต่างกัน การใช้ทุกวิธีร่วมกันจะเป็นวิธีที่ดีที่สุด

การวินิจฉัยจากการวิเคราะห์ดิน

การ วิเคราะห์ปริมาณธาตุอาหารในดินจะบอกให้ทราบได้ว่าดินมีความอุดมสมบูรณ์เพียง ใด โดยปกติเกษตรกรควรเก็บตัวอย่างดินวิเคราะห์เพื่อประเมินความอุดมสมบูรณ์ของ ดินก่อนปลูก และเพื่อปรับปรุงดินให้เหมาะสมกับความต้องการของพืช และควรวิเคราะห์ดินทุก 1-2 ปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตในแต่ละปีจะได้ทราบว่าธาตุอาหารใน ดินเหลืออยู่เพียงพอสำหรับการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตที่มีคุณภาพหรือมีแนว โน้มว่าพืชจะขาดธาตุอาหารถ้าไม่มีการใส่ปุ๋ยเพิ่มเติมให้แก่ดิน จากผลการวิเคราะห์ดินพบว่าบางครั้งแม้ว่าดินจะมีธาตุอาหารอยู่มากพอแต่พืชก็ ยังมีอาการผิดปกติให้เห็นได้ ในกรณีนี้การปรับปรุงคุณสมบัติทางเคมีหรือกายภาพของดินอาจช่วยให้พืชเจริญ เติบโตเป็นปกติได้ โดยทั่วไปนักวิชาการเกษตรจะแนะนำให้เกษตรกรปรับปรุงดินให้มี pH 6-6.5 ซึ่งเป็นช่วง pH ที่ธาตุอาหารส่วนใหญ่ในดินมีความเป็นประโยชน์ต่อพืชมากที่สุด ดินที่ปลูกไม้ผลโดยทั่วไปควรมีธาตุอาหารอยู่ในเกณฑ์ดังแสดงในตารางที่ 1

การวินิจฉัยจากการสังเกตอาการ

อาการขาดธาตุอาหารส่วนใหญ่เป็นลักษณะ ค่อนข้างเฉพาะเจาะจงสำหรับแต่ละธาตุ ถ้าเกษตรกรมีความคุ้นเคยกับอาการต่างๆที่พืชแสดงออกเกษตรกรจะสามารถวินิจฉัย สาเหตุของความผิดปกติของต้นไม้ที่ปลูกได้จากการสังเกตดูอย่างใกล้ชิด แต่ก็มีอาการขาดของบางธาตุที่คล้ายกันมากจนยากที่จะระบุได้อย่างถูกต้องจาก การสังเกต และถ้ามีการขาดมากกว่า 1 ธาตุก็ยิ่งทำให้การวินิจฉัยทำได้ยากขึ้น ต้องอาศัยความชำนาญ หรือมีผลการวิเคราะห์พืชและดินเข้าช่วยด้วย

การวินิจฉัยจากการวิเคราะห์ใบ

เนื่อง จากพืชอาจมีการขาดธาตุอาหารแอบแฝง (hidden hunger) โดยที่ยังไม่แสดงอาการให้เห็นถ้าการขาดธาตุอาหารไม่รุนแรง การวิเคราะห์ความเข้มข้นของธาตุอาหารในใบพืชและนำผลวิเคราะห์มาเทียบกับค่า มาตรฐาน จะบอกให้ทราบได้ว่าพืชนั้นๆมีความสมบูรณ์อยู่ในระดับใด ดังนั้น เกษตรกรจึงควรมีการตรวจวัดระดับความสมบูรณ์ของพืชอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตในแต่ละปีเพื่อการแก้ไขปัญหาได้ อย่างถูกต้องและทันต่อเวลา

คุณสมบัติดินที่เหมาะสมต่อการปลูกพืช



คุณสมบัติดินค่าที่เหมาะสมการแก้ไขปรับปรุง
พีเอช (pH)
6-7
ดินกรดใส่ปูน ดินด่างใส่กำมะถันผงหรือใช้ปุ๋ยที่มีผลตกค้างเป็นกรด
อินทรียวัตถุ ( OM ; %)
2.5-3
ใสปุ๋ยอินทรีย์
ฟอสฟอรัส (P; ppm)
26-42
ใส่ปุ๋ย 0-46-0, 18-46-0, 0-52-34, 0-42-56
โพแทสเซียม (K; ppm)
130
ใส่ปุ๋ย 0-0-60, 0-0-50, 13-0-46
แคลเซียม (Ca; ppm)
1,040
ใส่ปูน หรือใส่ปุ๋ย 15-0-0
แมกนีเซียม (Mg; ppm)
135
ใส่ปูนโดโลไมท์ ดีเกลือ กลีเซอร์ไรท์
เหล็ก (Fe; ppm)
11-16
พ่นเหล็กคีเลท เหล็กซัลเฟต
แมงกานีส (Mn; ppm)
9-12
พ่นแมงกานีสคีเลท แมงกานีสซัลเฟต
ทองแดง (Cu; ppm)
0.9-1.2
พ่นจุนสี
โบรอน (B; ppm)
0.6-1.2
พ่นบอแร็กซ์ โซลูบอร์
สังกะสี (Zn; ppm)
0.9-3
พ่นสังกะสีคีเลท สังกะสีซัลเฟต


Advertisment




ข้อมูลอ้างอิงจาก http://oard1.doa.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=48&Itemid=12

No comments:

Post a Comment