มาตรฐาน GAP คืออะไร จะต้องเตรียมอะไรบ้าง
มาตรฐาน GAP หรือการผลิตสินค้าทางการเกษตรที่ดีและเหมาะสม Good Agriculture Practices (GAP) เพื่อให้ได้ผลผลิตทางการเกษตรที่ดีและมีคุณภาพตามที่มาตรฐานกำหนดไว้ ซึ่งกำหนดไว้โดยองค์กรด้านอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO)
หากคิดจะส่งออกผักหรือผลไม้ไปยังต่างประเทศคงต้องศึกษามาตรฐาน GAP ให้ดีเพราะประเทศส่วนใหญ่เริ่มใช้มาตรฐาน GAP เป็นตัววัดตัดสินการนำเข้าสินค้าทางการเกษตรหรือแม้แต่ตลาดภายในประเทศเองก็เริ่มมีบทบาทขึ้นเรื่อยๆ ในหลายโรงงานใหญ่ โดยกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการตรวจรับรองระบบการจัดการคุณภาพ
การตรวจรับรองระบบ GAP ของกรมวิชาการเกษตรได้แบ่งออกเป็น 3 ระดับ ดังนี้
1. กระบวนการผลิตที่ได้ผลิตผลปลอดภัย2. กระบวนการที่ได้ผลิตผลปลอดภัยและปลอดภัยจากศัตรูพืช
3. กระบวนการผลิตที่ได้ผลิตผลปลอดภัย ปลอดจากศัตรูพืชและคุณภาพเป็นที่พึงพอใจของผู้บริโภค
หลักเกณฑ์ และวิธีการตรวจประเมินรับรองฟาร์ม GAP
ข้อกำหนด หลักเกณฑ์และวิธีการตรวจประเมินที่ใช้ในการตรวจรับรองฟาร์ม GAP ทั้ง 3 ระดับ ประกอบด้วยข้อมูล ดังนี้1. แหล่งน้ำที่ใช้ในการเกษตรนั้นจะต้องเป็นน้ำสะอาดที่ได้จากแหล่งที่ไม่มีการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ สารเคมีหรือวัตถุอันตรายใดๆ
2. พื้นที่ปลูกต้องไม่มีสารปนเปื้อนในดินจากวัตถุอันตรายหรือจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดการตกค้างหรือปนเปื้อนในผลผลิตทางการเกษตร
3. การใช้สารเคมีหรือวัตถุมีพิษในกระบวนการผลิตตามกฎข้อบังคับ หรือตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร (ยุ่งยากมากนักก็อย่าใช้เลยเห็นกฎข้อปฏิบัติของกรมวิชาการเกษตรก็ปวดหัวแล้ว -___-!!!)
4. มีโรงเรือนหรือสถานที่เก็บผลผลิตทางการเกษตรที่ได้มาตรฐานความสะอาด และสามารถป้องกันสิ่งปนเปื้อนต่างๆ ได้ตามมาตรฐาน
5. มีการจดบันทึกข้อมูลพื้นฐานในการผลิต เช่น ใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตรอะไรบ้าง ป้องกันศัตรูพืชยังไง และบันทึกการจัดการต่างๆ
6. ผลผลิตทางการเกษตรนั้นจะต้องปลอดจากแมลงศัตรูพืชติดอยู่หลังจากการเก็บเกี่ยว
7. มีการคัดแยกคุณภาพของผลผลิตให้ชัดเจน เช่น คุณภาพดี คุณภาพปานกลาง และคุณภาพต่ำ ซึ่งในปัจจุบันเรานั้นไม่ค่อยให้ความสำคัญกับการคัดแยกจากแหล่งผลิต มักจะนิยมขายเหมาให้โรงงานไปคัดแยกเอง
8. อุปกรณ์เครื่องไม้เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บเกี่ยวผลผลิตต้องได้มาตรฐานทั้งความสะอาดและปลอดสารปนเปื้อนที่มีผลต่อความปลอดภัยในการบริโภค
เรื่องสารพิษตกค้างนั้นเป็นเรื่องปกติของสินค้าทางการเกษตรซึ่งไม่สามารถที่จะทำให้บริสุทธิ์ได้ทั้งหมดจึงทำให้แต่ละประเทศที่นำเข้าผักหรือผลไม้มีกำหนดกฏเกณฑ์ที่แตกต่างออกไปในจำนวนของสารตกค้างที่สามารถให้มีได้ในผลผลิตทางการเกษตรแต่ละชนิด เช่น มะม่วงน้ำดอกไม้ที่ส่งไปญี่ปุ่นอนุญาตให้มีสารตกค้างคลอไพริฟอส (Chropyrifos) ได้ 0.05 มิลิกรัมต่อน้ำหนักมะม่วง 1 กิโลกรัม หรือพริกมีสารตกค้างคลอไพริฟอส (Chropyrifos) ได้ 1.00 มิลลิกัรมต่อน้ำหนักพริก 1 กิโลกรัมเป็นต้น โดยข้อมูลเชิงลึกเหล่านี้ติดต่อขอความรู้ได้จากกรมวิชาการเกษตร เบอร์ติดต่อ 0-2579-0151-8 (โยนให้ซะงั้น!! จะมานั่งแจกแจงก้ไม่ไหวเพราะรายละเอียดเยอะมาก -_-!!!) และโยเฉพาะอย่างยิ่งในอีก 2 – 3 ปีข้างหน้า (ปี 2558) ที่กฏข้อบังคับอีกหลายๆ อย่างของประชาคมอาเซี่ยนจะมีผลบังคับใช้มากขึ้นทำให้ชาวเกษตรอย่างเราๆ ต้องหันมาใส่ใจเรื่องคุณภาพของสินค้าและมาตรฐานเหล่านี้มากขึ้น อยากค้าขายกับคนหมู่มากก็ต้องปรับตัวตามความต้องการของคนหมู่มากครับ
ที่มา http://www.mygreengardens.com
No comments:
Post a Comment