วิธีไล่ยุงง่ายๆ ด้วยเปลือกส้มโอ
เปลือกส้มโอ |
เปลือกส้มโออย่าทิ้ง นำมาเผา ไล่ยุงได้็ วันนี้มีเคล็ดลับไล่ยุงมาบอก คือ เปลือกส้มโอไล่ยุง เมื่อปอกเปลือกแล้ว ก็นำไปตากแดดประมาณ 1 แดด แห้งแล้ว ก็นำมาจุดไล่ยุงได้เลย เมื่อจุดไฟแล้วก็จะมีควันพวยพุ่งออกมา แต่ไม่มีกลิ่นของส้มโอนะ
ที่เปลือกส้มโอจะมีน้ำมัน เมื่อจุดไฟแล้วก็จะมีไฟพุ่งออกมา นั่นก็เพราะว่าน้ำมันจากเปลือกนั่นเอง
ที่มา http://www.phtnet.org/research/view-abstract.asp?research_id=ag070
ทำการสกัดสารจากเปลือกส้มโอ (Citrus grandis, L. osbeck.) ทั้งส่วนสีเขียวและส่วนสีขาว 4 สายพันธุ์คือ พันธุ์ทองดี, ขาวแป้น, ขาวใหญ่ และปัตตาเวีย เพื่อหาสารที่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา C. cladosporioides สกัดโดยใช้เอทธานอล 95% และไดคลอโรมีเทน ทั้ง 4 สายพันธุ์ ไม่พบแถบสารที่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา สารสกัดจากเปลือกส้มโอส่วนที่มีสีเขียวที่สกัดโดยใช้เอทธานอล 95% ทั้ง 4 สายพันธุ์ ก็ไม่พบแถบสารที่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราเช่นกัน สารสกัดจากเปลือกส้มโอ ส่วนสีเขียวที่สกัดโดยใช้ไดคลอโรมีเทน สายพันธุ์ปัตตาเวีย ไม่พบแถบสารที่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา สายพันธุ์ขาวใหญ่ พบแถบสารที่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา 3 บริเวณ คือ Rf 0.80, 0.50 และ 0.30 สายพันธุ์ทองดีและขาวแป้น พบแถบสารที่สามารถายับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา 3 บริเวณ ที่ตำแหน่งเดียวกันคือ Rf 0.70, 0.48 และ 0.33 สารสกัดจากเปลือกส้มโอ ส่วนสีเขียวพันธุ์ทองดี Rf 0.70 เมื่อนำไปหา minimum inhibitory concentration (MIC) พบว่าที่ค่าความเข้มข้นของสาร 99.25 ไมโครกรัม/ไมโครลิตร สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราได้ จากการวิเคราะห์โครงสร้างของสารสกัดจากเปลือกส้มโอ ส่วนสีเขียวพันธุ์ทองดี โดยแกสโครมาโตกราฟีแมสสเปคโตรสโคปี (GC-MC), อินฟราเรดสเปคโตรสโคปี และอัลตราไวโอเลทสเปคโตรสปี พบว่าสารสกัด Rf 0.70, 0.48 และ 0.33 เป็นสารที่มีหมู่ฟังก์ชันของแอลกอฮอล์และเอสเทอร์ (-OH) (C=O) เป็นองค์ประกอบ
No comments:
Post a Comment