Tuesday, August 1, 2017

เกษตรน่าสนใจ วิธีปลูกกล้วยน้ำว้า เพื่ออาชีพค้าขาย

เกษตรน่าสนใจ วิธีปลูกกล้วยน้ำว้า เพื่ออาชีพค้าขาย


#เกษตร หลังจากที่ได้ลงบทความเกี่ยวกับ ทอดกล้วยเบรกแตก ก็ต่อยอดว่าถ้ามีกำลังมากพอก็จะหาแนวทางการปลูกกล้วยน้ำว้า ไม่มากก็น้อย ก็ลองค้นหาในเน็ต ก็ไปเจอวิธีการปลูกกล้วยน้ำว้าของ คุณยาว ก็ลองนำมาลงบทความให้ได้อ่าน เพื่อเป็นแนวทางสำหรับผู้สนใจที่จะปลูกกล้วยน้ำว้าเป็นอาชีพ อาชีพเกษตรเป็นอาชีพที่ใครหลายคนไฝ่ฝันกัน แต่จะเป็นไปได้หรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับความอดทนเท่านั้น จริงๆ ไปดูแนวทางการปลูกกล้วน้ำว้า ของ คุณยาว ขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วย

กล้วยน้ำว้า
Cr Image: https://pixabay.com



Advertisment


วิธีการปลูกกล้วยน้ำว้า


1. การเตรียมดิน กล้วยสามารถปลูกได้ในทุกสภาพดิน ขอเพียงมีน้ำรดเมื่อพืชต้องการน้ำและสามารถระบายน้ำได้เมื่อถึงฤดูฝนที่มีน้ำเกินความต้องการของพืช
  •  ที่นาควรยกร่องกว้าง 1 เมตร และปลูกบนหลังร่อง
  •  ที่ไร่ สามารถปลูกได้เลยโดยไม่ต้องยกร่อง
ระยะปลูกที่แนะนำคือ 3x3 เมตร พื้นที่ 1 ไร่ปลูกได้ 180 ต้น การไถตากดินก่อนปลูกจะช่วยกำจัดวัชพืชและเชื้อโรคในดิน การไถดะโดยใช้ผาน 3 ไถตากดินไว้ประมาณ 5-7 วันเป็นอย่างน้อย จากนั้นไถแปรโดยใช้ผาน 7 ก่อนทำการปลูกโดยขุดหลุมลึกประมาณ 30 เซนติเมตร กว้าง 30 เซนติเมตร ไม่ต้องใส่ปุ๋ยรองก้นหลุมเพราะจะทำให้เกิดรากเน่า

เมื่อรับหน่อมาแล้วควรปลูกทันที หากไม่พร้อมปลูกควรเก็บไว้ในร่ม และรดน้ำ หากจะเก็บหน่อไว้นานเกิน 3 วันควรนำหน่อปักชำไว้ในดิน โดยขุดหลุมลึกประมาณ 10 เซนติเมตร เอาบริเวณเหง้าของหน่อกล้วยลงไปประมาณครึ่งหัวแล้วกลบและรดน้ำวันละครั้งไม่ควรชำไว้นานเกิน 1 เดือน

2.วิธีการปลูก จำแนกการปลูกออกเป็น 4 แบบคือ
  • การปลูกกล้วยน้ำว้าโดยการไถยกร่อง ขนาดกว้างประมาณ 1 เมตร เหมาะสำหรับพื้นที่ลุ่มลักษณะเป็นที่นามาก่อน โดยจะปลูกกล้วยบนร่องดังกล่าว
  • การปลูกกล้วยน้ำว้าโดยการไถยกร่องแต่ปลูกกล้วยในร่อง และให้น้ำโดยการปล่อยน้ำไหลไปตามร่องที่ปลูกกล้วยเหมาสำหรับพื้นที่ราบและมีความลาดเอียงเล็กน้อย
  • การปลูกกล้วยน้ำว้าโดยไม่ยกร่อง เหมาะสำหรับพื้นที่ไร่ที่ไม่มีน้ำขังในฤดูฝน เช่นที่ราบ ที่เชิงเขา
  • การปลูกกล้วยน้ำว้าโดยการขุดร่องน้ำ เหมาะสำหรับพื้นที่ลุ่มน้ำมีน้ำขังตลอดปี มีระบบชลประทานเพียงพอ และลักษณะดินเป็นดินเหนียว เพราะดินทรายอาจทำให้เกิดการพังทลายของร่องน้ำได้ง่าย
3. การรดน้ำ  กล้วยเป็นพืชที่ต้องการน้ำสม่ำเสมอ และขาดน้ำไม่ได้ การให้น้ำควรสังเกตหน้าดิน เมื่อดินแห้งก็ควรรดน้ำ หากให้น้ำไม่เพียงพอจะทำให้ต้นกล้วยและผลผลิตที่ได้ไม่สมบูรณ์ หักล้มง่าย

ซึ่งระบบการให้น้ำพืช แบ่งออกเป็น 4 รูปแบบดังนี้
  • 1) ระบบสปริงเกอร์.....ดีที่สุด
  •  ระบบน้ำท่วมร่อง(น้ำไหลไปตามร่อง)
  • ระบบน้ำหยด
  •  ใช้เรือรดน้ำ
4. การจัดการดูแลกล้วยน้ำว้าตามอายุ

+++1 เดือน ตั้งแต่เริ่มปลูกกระทั่งอายุครบ 1 เดือนต้นกล้วยจะสูงประมา 30 เซนติเมตร ควรใส่ปุ๋ยคอก ประมาณต้นละ 1 ถ้วยแกง หรือใส่ปุ๋ย สูตร 46-0-0 ในอัตราต้นละ 1 กำมือร่วมด้วย และรดน้ำตามทันที ไม่ควรใส่ชิดโคนต้นมากเพราะอาจทำให้โคนเน่าได้

+++2 เดือน ในช่วงอายุนี้แปลงกล้วยจะเริ่มมีหญ้า ให้ทำการกำจัดโดยใช้เครื่องตัดหญ้า ตัดให้สั้น จากนั้นใส่ปุ๋ยสูตร 46-0-0 และรดน้ำตามทันที (ไม่ควรใช้ยากำจัดวัชพืช)

+++3 เดือน ให้สังเกตุต้นกล้วยหากพบใบเหลือง หรือใบเสียให้ตัดแต่งทิ้้ง โดยปกติจะเป็น 1-2 ใบล่าง ใส่ปุ๋ยคอกในอัตรา 2 ถ้วยแกงต่อ 1 ต้น โรยบริเวณโคนต้นให้ห่างจากต้นประมาณ 1 คืบ และปุ๋ยสูตร 25-7-7 ต้นละ 1 กำมือ

+++4 เดือน ให้สักเกตในแปลงหากมีหญ้า ให้ทำการกำจัดโดยใช้เครื่องตัดหญ้า ตัดให้สั้น หรือใช้ยาฆ่าหญ้าชนิดเผาไหมฉีดพ่นได้ แต่่ต้องระวังไม่ให้ละอองยาสัมผัสต้นและใบกล้วยจากนั้นใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 สูตรใดก็ได้ ประมาณ 1 กำมือ และรดน้ำตามทันที

+++5 เดือนเป็นต้นไป ช่วงนี้กล้วยต้องการสะสมอาหารเพื่อนำไปสร้างปลี ควรใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16  ต้นละ 1 กำมือ

+++10 เดือน กล้วยเริ่มแทงปลีออกมาให้เห็น

+++12 เดือน เริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิตได้


การเก็บเกี่ยงผลผลิต เมื่อกล้วยโตได้ขนาดตามที่ตลาดต้องการ กรรมวิธีการตัดกล้วยและจัดการกับผลผลิตกล้วยค่อนข้างสำคัญ จะได้ราคาดีหรือไม่ขึ้นอยู่ในช่วงนี้

1) การคัดเลือกเครือที่ต้องการ โดยสังเกตุจากลักษณะผลกล้วยทั้งเครือ

2) วิธีการตัดที่ถูกต้องและให้เกิดการบอบช้ำน้อยที่สุดเพื่อลดการสูญเสียผู้ตัดควรมีความรู้ความชำนาญ

3) กำลำเลียงขนย้ายผลผลิต ต้องให้ความสำคัญในการป้องริ้วรอยจากกันการกระทบ กระแทกและขีดข่วน

เพื่อเป็นแนวทาง กล้วยน้ำว้า จะให้ผลผลิตเก็บเกี่ยวประมาณ 1 ปี ซึ่งระหว่างนี้ควรจะหาพืชอย่างอื่นปลูกแซมด้วย จะมีรายได้เสริม ช่วงระหว่างรอ โปรดติดตาม ปลูกพืชแซมสวนกล้วยเอาใจคอเกษตร

Advertisment



CR:  คุณยาว 

No comments:

Post a Comment