Thursday, February 25, 2016

522 รายชื่อพรรณไม้ป่ายืนต้นของไทยทั้งหมด

522 รายชื่อพรรณไม้ป่ายืนต้นของไทยทั้งหมด

รู้จักชื่อพรรณไม้ป่ายืนต้นของไทย เพื่อการศึกษา และเป็นแนวทางในการที่จะนำไปสู่การเรียนรู้นอกห้องเรียน บางคนยังไม่รู้จักว่าพรรไม้ยืนต้นที่เห็นในป่าว่าชื่ออะไร ไม้ยืนต้นชื่อแปลกๆ ที่ไม่เคยได้ยิน ก็จะได้เห็นชื่อไม้ รายชื่อไม้ยืนต้นของไทย ได้ข้อมูลจาก http://agkc.lib.ku.ac.th/

รายชื่อพรรณไม้ป่ายืนต้นของไทย




Advertisment



1 กรมเขา 141 จิกดง 281 โปรงแดง 421 ลำแพน
2 กรวย 142 จิกทะเล 282 ผักหวาน 422 ลำแพนทะเล
3 กรวยป่า 143 จิกนมยาน 283 ผีเสื้อ 423 ลำใยป่า
4 กระเจา 144 จิกนา 284 โผ 424 เลียง
5 กระดังงาไทย 145 จิกสวน 285 ฝาง 425 เลียงฝ้าย
6 กระดุมผี 146 จิกใหญ่ 286 ฝาดแดง 426 เลียงมัน
7 กระโดงแดง 147 แจง 287 ฝาดขาว 427 ศรีตรัง
8 กระโดน 148 ฉนวน 288 พญาสัตบรรณ 428 สกุณี
9 กระตึด 149 เฉียงพร้านางแอ 289 พรหมคต 429 สนทะเล
10 กระถิน 150 แฉลบขาว 290 พระเจ้าห้าพระองค์ 430 สนสองใบ
11 กระท่อมหมู 151 แฉลบแดง 291 พริกไทยดง 431 สนสามใบ
12 กระทิง 152 ชงโคนา 292 พฤกษ์ 432 สนุ่น
13 กระทุ่มโคก 153 ชมพู่น้ำ 293 พลับดง 433 สมพง
14 กระทุ่มเขา 154 ชมพู่ป่า 294 พลับพลา 434 ส้มลิง
15 กระทุ่มนา 155 ชะมวง 295 พลากวาง 435 สมอดีงู
16 กระทุ่มน้ำ 156 ชะอมต้น 296 พะยอม 436 สมอทะเล
17 กระทุ่มบก 157 ชัยพฤกษ์ 297 พะยูง 437 สมอไทย
18 กระทุ่มหูกวาง 158 ชัยพฤกษ์ป่า 298 พะวาส้ม 438 สมอพิเภก
19 กระบก 159 ช้างน้าว 299 พันจำ 439 สวอง
20 กระบาก 160 ช้างโน้ม 300 พันจำใบใหญ่ 440 สองสลึง
21 กระเบากลัก 161 ช้าแป้น 301 พันตะวัน 441 สอยดาว
22 กระเบาใหญ่ 162 ชำมะเลียง 302 พันซาด 442 สะแกนา
23 กระพี้เขาควาย 163 ชิงชัน 303 พิกุล 443 สะเดา
24 กระพี้จั่น 164 ชุมแสง 304 พีพ่าย 444 สะเดาเทียม
25 กร่าง 165 เชียด 305 พุงทะลาย 445 สะเดาปัก
26 กฤษณา 166 ซ้อ 306 พุดผา 446 สะตือ
27 กล้วยค่าง 167 แซะ 307 พุดทุ่ง 447 สะเต้า
28 กล้วยน้อย 168 ดันหมี 308 พุทรา 448 สะท้อนรอก
29 กลึงกล่อม 169 ดีหมี 309 เพกา 449 สะทิบ
30 กว้าว 170 ดู่ช้างย้อย 310 โพทะเล 450 สัก
31 ก้อม 171 เดือยไก่ 311 โพธิ์ 451 สังหยูดอกใหญ่
32 กอมขม 172 แดง 312 โพบาย 452 สันโสก
33 ก่อหยุม 173 แดงแสม 313 โพหางสั้น 453 สาธร
34 กะเจียน 174 แดงดารา 314 โพหิน 454 ส้านช้าง
35 กะทังหัน 175 ตองเต่า 315 มลายเขา 455 ส้านใบเล็ก
36 กะทังหันลูกกลม 176 ตองเต๊า 316 ม่วงลาย 456 ส้านหิ่ง
37 กะปะ 177 ตะโกพนม 317 มะกล่ำต้น 457 ส้านใหญ่
38 กะลูแป 178 ตะขบควาย 318 มะกล่ำตาไก่ 458 สามง่าม
39 กะหนาย 179 ตะขบไทย 319 มะก่อ 459 สามพันตา
40 กะอาม 180 ตะขบน้ำ 320 มะกอก 460 สามพันสา
41 กัดลิ้น 181 ตะขบป่า 321 มะกอกน้ำ 461 สารภี
42 กัดลิ้นลิง 182 ตะคร้อ 322 มะกัก 462 สารภีป่า
43 กันเกรา 183 ตะคร้อหนาม 323 มะกา 463 สำเภา
44 กัลปพฤกษ์ 184 ตะคร้ำ 324 มะกายคัด 464 สำโรง
45 กัลปพฤกษ์เปลือกขม 185 ตะเคียนชันตาแมว 325 มะเกลือ 465 สีฟัน
46 กางหลวง 186 ตะเคียนทอง 326 มะเกลือเลือด 466 สีฟันกระบือ
47 กาจะ 187 ตะเคียนหนู 327 มะขวิด 467 สีรามัน
48 กาซะลองคำ 188 ตะบัน 328 มะขาม 468 สีเสียดแก่น
49 กาละเม็ด 189 ตะบูนดำ 329 มะขามแขก 469 สีเสียดเปลือก
50 กาฬพฤกษ์ 190 ตะบูนขาว 330 มะขามป้อม 470 สีเสื้อ
51 กำจัดต้น 191 ตะแบกเกรียบ 331 มะขามแป 471 สุพรรณิการ์
52 กำยาน 192 ตะแบกทอง 332 มะคะ 472 เสม็ดขาว
53 กำยานสุมาตรา 193 ตะแบกนา 333 มะคังขาว 473 เสม็ดชุน
54 กำลังช้างเผือก 194 ตะแบกหนู 334 มะคังดง 474 เสม็ดแดง
55 กำลังเสือโคร่ง 195 ตะแบกใหญ่ 335 มะคังแดง 475 เสลาดำ
56 กุ่มน้ำ 196 ตังตาบอด 336 มะค่าแต้ 476 เสลาท่าขนุน
57 กุ่มบก 197 ตังหน 337 มะค่าโมง 477 เสลาใบเล็ก
58 กุหลาบคลองพลู 198 ตับเต่าต้น 338 มะเค็ด 478 เสลาใบใหญ่
59 เกด 199 ตาคอม 339 มะจ้ำก้อง 479 เสลาเปลือกบาง
60 เกรียน 200 ต้างหลวง 340 มะซาง 480 เสลาเปลือกหนา
61 แกง 201 ตาฉี่เคย 341 มะดูก 481 เสี้ยวดอกขาว
62 แกงเลียงใหญ่ 202 ตาตุ่มตรี 342 มะเดื่อทอง 482 เสี้ยวป่า
63 แก้ว 203 ตาตุ่มทะเล 343 มะเดื่ออุทุมพร 483 เสี้ยวใหญ่
64 โกงกางใบเล็ก 204 ตาทิบทอง 344 มะตาด 484 แสมขาว
65 โกงกางใบใหญ่ 205 ตานดำ 345 มะตูม 485 แสมดำ
66 โกงกางหัวสุม 206 ตานนม 346 มะเนียงน้ำ 486 แสมทะเล
67 โกงกางหูช้าง 207 ตานเสี้ยน 347 มะนาวผี 487 แสมสาร
68 ขนุนนก 208 ตาล 348 มะปริง 488 โสกเขา
69 ขนุนป่า 209 ตาเสือ 349 มะฝ่อ 489 โสกน้ำ
70 ข่อย 210 ตาเสือเหลือง 350 มะพลับไทย 490 โสกระย้า
71 ข่อยหนาม 211 ตำเสา 351 มะพลับยอดดำ 491 โสกเหลือง
72 ขะเจาะน้ำ 212 ติ้วขน 352 มะพอก 492 หงอนไก่ทะเล
73 ขันทองพยาบาท 213 ติ้วขนเกลี้ยง 353 มะพูด 493 หมักฟักดง
74 ขางขาว 214 ติ้วขาว 354 มะเฟืองช้าง 494 หมักม่อ
75 ขางหัวหมู 215 ติ้วดำ 355 มะแฟน 495 หมัน
76 ขานาง 216 ตีนเป็ดเขา 356 มะม่วงขี้ยา 496 หมันทะเล
77 ขามคัวะ 217 ตีนเป็ดทราย 357 มะม่วงหัวแมงวัน 497 หมีเหม็น
78 ข้าวสาร 218 ตีนเป็ดน้ำ 358 มะมือ 498 หย่อง
79 ข้างสารป่า 219 ตุ้มหู 359 มะมุด 499 หยากไย่
80 ขี้หนอน 220 ตูมกาขาว 360 มะยมป่า 500 หยีน้ำ
81 ขี้หนอนพรุ 221 ตูมกาแดง 361 มะยมหิน 501 หลุมพอทะเล
82 ขี้หนอนหอม 222 เต็ง 362 มะสัง 502 หว้า
83 ขี้เหล็กไทย 223 เต็งหนาม 363 มะส้าน 503 หว้าขี้มด
84 ขี้เหล็กฤาษี 224 เตยทะเล 364 มะหวด 504 หอมไกดง
85 ขี้เหล็กเลือด 225 เต้าดำ 365 มะห้า 505 หัวแมงวัน
86 ขี้อ้าย 226 เติม 366 มะหาด 506 หาดหนุน
87 เขลง 227 แต้ว 367 มะเหลี่ยมหิน 507 หูกวาง
88 เขากวางกลีบเลี้ยง 228 ถ่อน 368 มังตาน 508 เหมือดคนดง
89 แข้งกวาง 229 ทลายเขา 369 มังคาก 509 เหมือดคนตัวผู้
90 แข้งกวางดง 230 ทองกวาว 370 มันบก 510 เหมือดดง
91 แขนงพร้อย 231 ทองเดือนห้า 371 มันปลา 511 เหมือดใบต่อม
92 ไข่เขียว 232 ทองหลางด่าง 372 มันปู 512 เหมือดโลด
93 ไข่เน่า 233 ทองหลางน้ำ 373 เม็ก 513 แหนนา
94 ไข่ปลา 234 ทองหลางป่า 374 เม่าเหล็ก 514 แหลช่อ
95 คงคาเดือด 235 ทังใบช่อ 375 แมวคล้องตอ 515 อบเชยไทย
96 ค้อนกลอง 236 ทุ้งฟ้า 376 โมกมัน 516 อ้อยช้าง
97 คอแลน 237 เทพธาโร 377 โมกราชินี 517 อะราง
98 คอแลนเขา 238 เท้ายายม่อมหลวง 378 โมกหลวง 518 อินทนิลน้ำ
99 คันแหลน 239 เทียนทะเล 379 โมฬีสยาม 519 อินทนิลบก
100 คาง 240 เทียะ 380 ไม้ลาย 520 อีแปะ
101 คางคาก 241 ไทรย้อยใบแหลม 381 ยู 521 อุโลก
102 ค่างเต้น 242 ธนนไชย 382 ยมหิน 522 ฮ้อยจั่น
103 ค่าหด 243 นนทรี 383 ยอเถื่อน
104 คำมอกไทย 244 นางแดง 384 ยอป่า
105 คำมอกน้อย 245 เนียง 385 ยางกราด
106 คำมอกหลวง 246 บุนนาค 386 ยางกล่อง
107 คำรอก 247 ประคำไก่ 387 ยางนา
108 แคขาว 248 ประดู่ป่า 388 ยางบง
109 แคเขา 249 ประดู่อังสนา 389 ยางปาย
110 แคชาญชัย 250 ประยงค์ป่า 390 ยางพลวง
111 แคทราย 251 ประสักแดง 391 ยางเหียง
112 แคทะเล 252 ปรู 392 ยางพารา
113 แคนา 253 ปลายสาน 393 รง
114 แคน้ำ 254 ปอกระสา 394 รกฟ้า
115 แคป่า 255 ปอขาว 395 ร่มฉัตร
116 แคฝอย 256 ปอคาว 396 ระไมป่า
117 แคยอดดำ 257 ปองวง 397 รักขาว
118 แครกฟ้า 258 ปอแดง 398 รักดำ
119 แคสันติสุข 259 ปอตาน 399 รักทะเล
120 แคหัวหมู 260 ปอตูบหูช้าง 400 รักน้อย
121 แคหางค่าง 261 ปอทะเล 401 รักน้ำ
122 แคหิน 262 ปอฝ้าย 402 รักใบใหญ่
123 ไคร้น้ำ 263 ปอพราน 403 รักใหญ่
124 ไคร้ย้อย 264 ปอมื่น 404 รัง
125 งัวเลีย 265 ปอยาบ 405 ราชพฤกษ์
126 งาช้าง 266 ปอเลียงฝ้าย 406 ราชาวดีป่า
127 งาไซ 267 ปอหู 407 รามใหญ่
128 ง้าว 268 ปออีเก้ง 408 รุ่ย
129 งิ้ว 269 ปันแถ 409 ละมุดสีดา
130 เงาะหนู 270 ปีกไม้ 410 ลังเค้า
131 จัน 271 ปีบ 411 ลาน
132 จันเขา 272 ปีบทอง 412 ลานวัด
133 จันดำ 273 ปูเล 413 ลำดวน
134 จันทร์กะพ้อ 274 เปล้าเงิน 414 ลำดวนดอย
135 จาก 275 เปล้าใหญ่ 415 ลำบิดดง
136 จามจุรี 276 เปี๋อยเลือด 416 ลำบิดทะเล
137 จำปา 277 เปียด 417 ลำป้าง
138 จำปาเทศใบใหญ่ 278 โปรง 418 ลำพู
139 จำปี 279 โปร่งกิ่ว 419 ลำพูทะเล
140 จำปีป่า 280 โปรงขาว 420 ลำพูป่า

Tuesday, February 23, 2016

ปัจจัยที่ทำให้การปั่นจักรยานสามารถลดพุงลงได้

ปัจจัยที่ทำให้การปั่นจักรยานสามารถลดพุงลงได้

รูปจักรยาน
รูปจักรยาน



Advertisment



Admin เที่ยวไปเรื่อย สามารถพูดได้เต็มคำว่า การปั่นจักรยานเพื่อลดพุง และน้ำหนักสามารถทำได้แน่นอน และเป็นจริงตามที่ได้ทำการปั่นมา ส่วนที่สามารถลดได้จริง เมื่อปั่นจักรยานเป็นระยะเวลาประมาณ 1 เดือน ก็คือ อัตรการเต้นของหัวใจ ลดต้นขา ลดต้นแขน ลดเอว ส่วน พุงนั้นเป็นขั้นตอนลดสุดท้าย เรามาดูว่าแต่ละส่วนนั้นลดน้ำหนักได้อย่างไร

ลดต้นขา จากที่ได้ปั่นจักรยานมา ต้นขาเป็นส่วนที่ใช้แรงอยู่ตลอดเวลา ออกแรงปั่นตลอดเวลา เป็นส่วนที่ลดเร็วที่สุด

ลดเอว เมื่อปั่นเป็นเวลาต่อเนื่อง 1 เดือน จะสังเกตุว่า เอวทั้ง 2 ข้างสามารถได้ ลองสัมผัสดู เอวจะลดลง หรือเวลานอน ให้ลองนอนตะแคง แล้วเอามือไปจับที่เอว ถ้าเคยอ้วน ก็สามารถรู้สึกถึงความแตกต่างได้ดี

ลดต้นแขน แขนของนักปั่นจักรยาน ต้องออกแรงขยับตลอดเวลา เช่น ปั่นช้า ปั่นเร็ว ซึ่งเป็นการขยับกล้ามเนื่อ ส่วนที่เป็นไขมันบริเวณต้นแขน ก็จะถูกนำไปเป็นพลังงาน ทำให้ต้นแขนกระชับขึ้น

ลดพุง ลดหน้าท้อง การลดพุงเป็นขั้นตอนที่ลดยากมาก เพราะ อาหารที่เรากินเข้าไปจะไปสะสมที่หน้าท้องมาก จะเห็นได้ว่าคนอ้วน หน้าท้องจะใหญ่มาก ซึ่งการปั่นจักรยานเพื่อลดพุง จะเป็นการลดน้ำหนักขั้นสุดท้าย คือ ประมาณว่า ปั่นจักรยานให้ลด แขน ต้นขา ลดเอว ก่อน แล้ว สุดท้าย เมื่อ ไขมันในร่างกายได้ใช้ไปหมดแล้ว ไขมันที่สะสมบริเวณหน้าท้องจะถูกนำมาใช้ และนี่คือเหตุผลของการปั่นจักรยานเพื่อลดพุง

ตัวช่วยในการลดพุง ลดหน้าท้องได้เร็วขึ้น

การทีจะปั่นจักรยานเพื่อลดพุงได้เร็วขึ้น โดยที่ไม่ต้องใช้ยา ไม่ต้องซื้ออุปกรณ์ออกกำลังกายเพิ่ม ก็คือ การ ซิทอัพ เพื่อลดพุง แล้วจะซิทอัพกี่ครั้ง ก็ต้องบอกว่า แรกเริ่มให้เริ่มตามที่ร่างกายสามารถทำได้ เช่น 25 ครั้ง และทำทุกวันพร้อมกับปั่นจักรยาน จากนั้นก็เพิ่มเป็น 50 ครั้ง และทำทุกวันไปพร้อมๆ กับปั่นจักรยานออกกำลังกาย การซิทอัพ สามารถซิทอัพระหว่างหยุดพักปั่นจักรยาน ก็ได้เพราะช่วงหยุดนั้น ร่างกายจะขับเหงื่อออกมามาก การเผาผลาญสูงมาก ถ้าซิทอัพไปด้วย ก็จะยิ่งเบิร์นได้ดียิ่งขึ้น

ผัดผักบุ้ง
ภาพประกอบอาหารลดน้ำหนัก ผัดผักบุ้ง


Advertisment


สิ่งสำคัญของการปั่นจักรยานเพื่อลดพุง คือ ควรจำกัดอาหารเย็น คือทานน้อย กินอาหารประเภทแป้ง ไขมัน และ อาหารประเภทที่มีความหวาน น้ำตาล น้อยๆ จะเป็นตัวช่วยในการลดน้ำหนักลดพุงได้เป็นอย่างดี

Tuesday, February 9, 2016

DIY เรื่องเล่า ปลูกแก้วมังกรในกระถางต้นไม้ ไม่ยาก

DIY เรื่องเล่า ปลูกแก้วมังกรในกระถางต้นไม้

ขึ้นหัวข้อปลูกแก้วมังกรในกระถางต้นไม้ ไม่น่าจะยาก แก้วมังกรก่อนที่จะได้รับความนิยม เป็นผลไม้ที่คิดว่ารสชาติไม่น่าจะพิสมัย แต่พอได้ลองแล้วชอบ ก็คิดจะปลูก แต่ก็ไม่มีพื้นที่ หาวิธีปลูก ก็เห็นตามเน็ตว่าสามารถปลูกในกระถางได้ ก็เลยสั่งกิ่งพันธุ์มาปลูก

แก้วมังกรในกระถางต้นไม้
แก้วมังกรในกระถางต้นไม้ กำลังแตกยอด
กิ่งพันธุ์แก้วมังกรที่สั่งมา ก็ยังไม่สนใจจะปลูก ก็เก็บดองไว้เป็น 2 - 3 เดือน แปลกครับ กิ่งแก้วมังกรยังไม่เหี่ยวหรือแห้งแต่อย่างใด แถมยังเขียว แสดงว่ากิ่งพันธุ์แก้วมังกรสามารถทนต่อความแห้งแล้งได้ หลังจากนั้นก็ได้เวลาปลูกแก้วมังกร วิธีปลูกในกระถางก็ไม่ยาก ติดตามการปลูกและดูรูป โดยรูปที่เห็น แก้วมังกรแตกยอดแล้ว

อุปกรณ์ที่ใช้ ดิน กระถาง กิ่งพันธุ์แก้วมังกร น้ำ ปุ๋ยขี้หมูแห้ง

วิธีการปลูก แก้วมังกรสามารถปลูกได้ง่าย เหมือนกับการปักชำไม้ทั่วไป นำดินปลูกลงกระถาง ไม่ต้องกดดินจนแน่น จากนั้น นำกิ่งแก้วมังกรปักชำลงในดิน ประมาณ 3 กิ่ง สังเกตุดูตอนปักชำ ให้ดูหนามชี้ขึ้น ถ้าปักชำกิ่งหนามชี้ลงแสดงว่า ท่านปลูกผิดแล้ว จากนั้นใส่ปุ๋ย รดน้ำ

การให้น้ำ แก้วมังกรเป็นพืชทนน้ำ สามารถให้น้ำ 2 วันครั้งได้

การเจริญเติบโต ให้สังเกตุว่าเริ่มมียอดแตกออกจาก หนาม แสดงว่ามาถูกทางแล้ว

แก้วมังกรแตกยอด 3 ยอด
แก้วมังกรแตกยอด 3 ยอด

แก้วมังกร
แก้วมังกร กิ่งนี้แตกยอดได้เร็วมาก กิ่งใหญ่

แก้วมังกร
แก้วมังกร ปลูกพร้อมกัน แต่ยังไม่แตกกิ่งเลย

แก้วมังกร
แก้วมังกร เริ่มแตกกิ่งเล็กๆ



Advertisment


แก้วมังกร
แก้วมังกร ปลูกผักคะน้าแซมด้วย

การปลูก แก้วมังกร ในกระถางต้นไม้ เป็นการประหยัดพื้นที่ ทำกิจกรรมยามว่า เป็นงานอดิเรก เห็นการเจริญเติบโตแล้ว ทำให้มีคุณค่าจากสิ่งที่ได้ทำ รอคอยผลผลิตจากการปลูกแก้วมังกรในกระถาง ต่อไป

เรื่องและภาพโดย http://likeougtravel.blogspot.com/

Tuesday, February 2, 2016

เผยแผ่เรื่องกาแฟอินทรีย์ กาแฟโรบัสต้า ระนอง

เผยแผ่เรื่องกาแฟอินทรีย์ กาแฟโรบัสต้า ระนอง

ชาวสวนกาแฟระนองหวังพลิกภาพโรบัสต้าจากผู้ร้ายให้เป็นพระเอก
จังหวัดระนองนับว่าเป็นพื้นที่ที่มีการปลูกกาแฟพันธุ์โรบัสต้ามากเป็นอันดับที่ 2 รองจากจังหวัดชุมพร จากข้อมูลของสำนักงานสหกรณ์จังหวัดระนองพบว่า มีพื้นที่ปลูกกาแฟรวมกว่า 55,000 ไร่ ให้ผลผลิตปีละกว่า 5,300 ตัน โดยอำเภอกระบุรีเป็นพื้นที่ที่มีการปลูกกาแฟมากที่สุดในจังหวัดระนอง แต่เนื่องจากหลายปีย้อนหลังที่ผ่านมาเกษตรกรหันไปปลูกพืชเศรษฐกิจชนิดอื่นเพิ่มมากขึ้น เช่น ยางพาราและปาล์มน้ำมัน อีกทั้งการทำสวนกาแฟมีต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น ทำให้พื้นที่และผลผลิตกาแฟมีจำนวนลดลง และที่สำคัญค่านิยมหรือรสนิยมของคนดื่มกาแฟจะมองว่าโรบัสต้าเป็นกาแฟไม่มีคุณภาพ เป็นกาแฟสำหรับป้อนตลาดทั่วไป จึงเปรียบเสมือนกาแฟโรบัสต้าเป็นเพียงผู้ร้ายที่ไม่สามารถมีค่าตัวเทียบได้เท่าพระเอก
ที่ไร่กาแฟ “สวนสดชื่น” ของ มิ่งขวัญ จันดาเพ็ง หรือ “จุ๋ย” ศิลปินหนุ่มชาวสวนกาแฟวัย ซึ่งอยู่ที่หมู่ที่ 8 ต.ลำเลียง อ.กระบุรี จ.ระนอง ซึ่งสภาพภูมิประเทศโอบล้อมด้วยหุบเขา มีอากาศที่ดีและสดชื่น มีการปลูกกาแฟพันธุ์โรบัสต้าอยู่ตามพื้นที่เชิงเขา ได้ศึกษาและเรียนรู้กระบวนการผลิตกาแฟคุณภาพ เพื่อยกระดับกาแฟโรบัสต้าให้เป็นกาแฟคุณภาพ อีกทั้งยกระดับราคาเพื่อหนีราคาตลาดทั่วไปขึ้นสู่ตลาดกาแฟเกรดพรีเมียมหรือกาแฟชั้นดี ให้สมกับการลงแรงลงทุนในการผลิต

เผยแผ่เรื่องกาแฟอินทรีย์ กาแฟโรบัสต้า ระนอง
เผยแผ่เรื่องกาแฟอินทรีย์ กาแฟโรบัสต้า ระนอง

จุ๋ยบอกว่า “ปัจจุบันพี่น้องเกษตรกรชาวสวนกาแฟส่วนใหญ่ จะปลูกและผลิตเมล็ดกาแฟเพื่อส่งให้กับผู้ผลิตกาแฟกึ่งสำเร็จรูปรายใหญ่ของประเทศ โดยต้องรอในแต่ละปีว่าเขาจะกำหนดราคารับซื้อกิโลกรัมละเท่าไหร่ ซึ่งกาแฟที่ป้อนตลาดตรงนี้จะเป็นกาแฟคละเกรด คือการเก็บเกี่ยวจะไม่มีการคัดเลือกเมล็ด จะเก็บมาทั้งหมดทั้งเมล็ดเขียว แดง หรือดำ แล้วการนำมาตากก็วางติดกับพื้นดิน ซึ่งจะมีกลิ่นดินติดเข้าไปกับเมล็ดกาแฟ รวมถึงในหลาย ๆ ครั้งเมล็ดกาแฟจะขึ้นราเนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนชื้นของจังหวัดระนอง ดังนั้นผลผลิตเมล็ดกาแฟของพี่น้องชาวสวนกาแฟที่นี่จึงกลายกาแฟเกรดรองที่ถูกกดราคาโดยพ่อค้าคนกลางมาโดยตลอด
จุ๋ยบอกอีกว่า “ผมได้พยายามเรียนรู้และหากระบวนการผลิตเมล็ดกาแฟคุณภาพ ซึ่งจากการศึกษาก็พบว่าที่จังหวัดระนองมีกระบวนการผลิต 2 แบบคือ แบบแห้งที่ชาวสวนกาแฟส่วนใหญ่ทำกัน และอีกแบบคือแบบเปียก ซึ่งที่สวนสดชื่นผมเลือกใช้แบบหลัง เพราะเห็นว่าจังหวัดระนองเป็นพื้นที่ที่มีฝนตกชุก มีความชื้นสูงกระบวนการผลิตแบบเปียกจึงเหมาะสมกว่า และผมเลือกที่จะปลูกกาแฟแบบเกษตรอินทรีย์เพื่อหาความต่างของตลาด รวมถึงพยายามชักจูงเพื่อนพี่น้องในละแวกใกล้เคียงให้ลองปรับมาผลิตกาแฟคุณภาพ ซึ่งมีคนมาร่วมไม่มากนักและหลาย ๆ คนก็บอกว่าผมบ้า จะทำให้มันยากทำไม ที่ทำ ๆ กันอยู่กับราคาที่ได้รับก็พอใจกันแล้ว แต่ผมก็ยังคงตั้งหน้าตั้งตาทำกาแฟคุณภาพต่อไป”
จุ๋ยเล่าให้ฟังอีกว่า “ผมกลับมาที่สวนสดชื่น สานต่อการทำสวนกาแฟจากครอบครัว และตั้งเป้าผลิตกาแฟคุณภาพให้ได้ ด้วยการคัดเฉพาะเมล็ดสุกแดง ผ่านกระบวนการแช่น้ำแล้วคัดเมล็ดที่ลอยออก หลังจากนั้นก็ผ่านกระบวนการหมักน้ำ สีเปลือก แล้วตากแดดด้วยการยกแคร่ให้สูงจากพื้นดิน เพื่อป้องกันกลิ่นแปลกปลอมเข้าสู่เมล็ดกาแฟ ซึ่งในขณะนี้ผ่านมาแล้วเป็นปีที่ 3 ผลผลิตเมล็ดกาแฟของผมถูกสั่งจองข้ามปีจากโรงคั่วกาแฟทั้งหมด ในราคาที่สูงกว่าเมล็ดกาแฟทั่วไปมากกว่า 2 เท่า อีกส่วนหนึ่งเราก็เก็บไว้ผลิตเป็นกาแฟแบรนด์ “สวนสดชื่น” ของเราเอง รวมถึงผมกำลังคิดที่จะผลิตเมล็ดกาแฟที่เรียกว่า “กาแฟโรบัสต้ามหาเทพ” ซึ่งอาจจะผลิตได้เพียงไม่กี่สิบกิโลกรัมเท่านั้นด้วย”
“ผมคาดหวังว่าสักวันหนึ่งกาแฟโรบัสต้าจะต้องได้รับการยอมรับมากขึ้น คนดื่มกาแฟจะมีความเข้าใจที่ดีต่อโรบัสต้ามากขึ้น โรงคั่วที่ยังไม่มีความเข้าใจในโรบัสต้ามากพอก็จะเข้าใจมากขึ้น ส่วนโรงคั่วที่ใช้กาแฟที่ดีอยู่ก็จะเพิ่มปริมาณการสั่งโรบัสต้าคุณภาพที่มากขึ้น อีกทั้งระนองมีสภาพภูมิอากาศที่ดี มีพื้นดินที่ดี และมีกาแฟโรบัสต้าที่ดี และเชื่อมั่นว่าระนองเป็นแหล่งผลิตกาแฟโรบัสต้าที่ดีกว่าในละแวกใกล้เคียง ซึ่งหากเราไม่สามารถผลิตกาแฟโรบัสต้าคุณภาพได้ นับว่าเป็นเรื่องที่น่าเสียใจเป็นอย่างมาก ซึ่งถึงเวลาแล้วที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องศึกษาเรื่องกาแฟคุณภาพ และเข้ามาหนุนเสริมให้จริงจัง ทำให้โลกได้รู้ว่าโรบัสต้าที่ดีมีอยู่ที่ระนองทั้งหมด” จุ๋ยกล่าวปิดท้าย
ทางด้านสุพจน์ กรประสิทธิ์วัฒน์ หรือที่รู้จักกันในนาม “ก้องกาแฟ” ผู้ที่เรียกตัวเองว่า “เกษตรอินดี้” ได้บอกให้เราเข้าใจว่า “กว่า 30 ปีที่บรรพบุรุษของเราบุกเบิกการปลูกกาแฟโรบัสบัสต้า บนพื้นที่ที่มีอากาศและดินที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย เราชาวสวนกาแฟเกือบทุกคนก็ยังคงซื้อกาแฟทั้งกึ่งสำเร็จรูป หรือกาแฟทรีอินวันมาดื่มกันอยู่ ซึ่งเมื่อเทียบปริมาณกาแฟในซองกับราคาแล้วเราพบว่ามันมีราคาสูงมาก ถ้าเทียบเป็นกิโลกรัมมันมีราคาถึง 2 พันบาท ในขณะที่ชาวสวนกาแฟขายส่งกาแฟให้ผู้ผลิตในราคากิโลกรัมละไม่ถึง 100 บาท อีกทั้งมีผู้พยายามใส่ร้ายว่ากาแฟโรบัสต้าเป็นกาแฟไม่มีคุณภาพ มีรสชาติที่เปรี้ยว สู้กาแฟอาราบิก้าจากภาคเหนือไม่ได้นั้น ซึ่งแท้ที่จริงแล้วไม่เป็นความจริง เพราะการที่จะได้กาแฟคุณภาพและรสชาติที่ดีนั้น ต้องขึ้นอยู่กับกระบวนการตั้งแต่การเก็บเมล็ดกาแฟที่สุกเป็นสีแดงเชอรี่ ไปจนถึงการคั่วบดและชง ซึ่งคุณจะเข้าใจเมื่อได้มาสัมผัสด้วยตัวเอง”
ก้องยังบอกอีกว่า “ปัจจุบันผมพยายามรวบรวมกลุ่มผู้ที่มีความคิดเดียวกันมาเป็น “หุ้นส่วนทางความคิด” ในการปลูกและผลิตเมล็ดกาแฟคุณภาพ โดยในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ก็ได้พิสูจน์ให้เพื่อนชาวสวนกาแฟ รวมถึงหน่วยงานภาครัฐได้เห็นแล้วว่า การผลิตกาแฟโรบัสต้าคุณภาพนั้นทำได้ ถึงแม้ผลผลิตกาแฟคุณภาพจะยังออกมาไม่มากก็ตาม ผมก็ยังไม่ท้อถอยที่จะชักชวนเพื่อร่วมหุ้นมาร่วมกันกำหนดราคาของเราเอง ที่เรียกว่า “ตลาดเรา” ที่มีราคาสูงกว่าปกติถึงเท่าตัว ส่วนเมล็ดกาแฟที่มีคุณภาพรองลงไปเราก็ส่งขายตลาดทั่วไปที่พ่อค้าคนกลางเขากำหนดราคาโดยเรียกว่า “ตลาดโลก” โดยเริ่มต้นก็ชักชวนด้วยการให้หันมาลองผลิตกาแฟคุณภาพประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์จากการปลูกทั้งหมดดูก่อน แล้วจึงค่อยขยับขยายเพิ่มมากขึ้นในอนาคต และเชื่อว่าตลาดกาแฟโรบัสต้าคุณภาพนั้นยังเปิดกว้างและรองรับได้อีกมาก”


Advertisment


สิริชัย สาครวิศว หรือ “โซ่” ซึ่งเป็น R-Grader หรือผู้กำหนดคุณภาพกาแฟโรบัสต้า บอกว่า “ปัจจุบันกาแฟพันธุ์อาราบิก้าที่ปลูกที่ภาคเหนือนั้นราคาพุ่งขึ้นไปสูงมาก ในขณะที่มีผลผลิตที่ไม่มากนัก จนหลาย ๆ คนเริ่มหันมาสนใจว่าทำไมไม่เอาโรบัสต้ามาใช้บ้าง อาจจะด้วยความเข้าใจที่ยังน้อยและเข้าใจผิดคิดว่าโรบัสต้าเป็นกาแฟที่ไม่ดี แต่ในความเป็นจริงแล้วยังมีกาแฟโรบัสต้าที่ดีอยู่ ซึ่งสามารถนำมาใช้ทดแทนหรือใช้ร่วมกับอาราบิก้าที่ดีได้ ซึ่งอาราบิกาจะได้ความเปรี้ยวและกลิ่นที่ดี แต่ในเรื่องของบอดี้ ความหนักแน่น หรือความสมูทนั้นอาราบิก้ามีน้อย แต่สามารถหาได้ทั่วไปในโรบัสต้า”
โซ่บอกอีกว่า “ผมเคยลงไปที่จังหวัดระนอง ได้ชิมกาแฟทั้งของสวนสดชื่น และที่ก้องกาแฟ ก็พบได้ว่าทั้งสองแห่งนี้มีการผลิตกาแฟคุณภาพที่แตกต่างจากโรบัสต้าทั่วไปและน่าสนใจมาก ซึ่งเกษตรกรทั่วไปอาจจะเริ่มต้นทำกาแฟคุณภาพโดยวิธีง่าย ๆ ก่อน ด้วยการเลือกเฉพาะผลสุกแดง การตากไม่ให้ติดพื้นดิน แล้วหลังจากผ่านกระบวนการมาแล้ว เราก็จะพบว่ามันให้รสชาติที่แตกต่างกัน เมื่อเราทำกาแฟดีแล้วทุกอย่างมันจะยกระดับขึ้นมาเอง ซึ่งปัจจุบันนี้อยากจะบอกว่าใคร ๆ ก็ตามหาโรบัสต้าดี ๆ เพราะมันมีความจำเป็นต้องใช้ เช่นการทำกาแฟเย็น โรบัสต้าจะสามารถสู้กับนมได้ดีกว่า อีกทั้งตลาดและการบริโภคในปัจจุบันขยายตัวมากขึ้น ซึ่งจะเห็นได้จากร้านกาแฟสดที่เปิดมากขึ้นในทุกแห่ง ซึ่งร้านกาแฟพวกนี้ต้องใช้กาแฟคุณภาพมาเป็นวัตถุดิบ ไม่สามารถนำเมล็ดกาแฟแบบคละเกรดมาใช้ได้ อีกทั้งโรงคั่วกาแฟอีกหลายแห่งก็ยังค้นหาและตามหาเมล็ดกาแฟโรบัสต้าคุณภาพอีกมากเลยทีเดียว”
“ในสภาวะที่พืชเศรษฐกิจของภาคใต้เช่นยางพารา และปาล์มน้ำมันที่ราคาตกขนาดนี้ นับว่าเป็นโอกาสที่ดีที่หน่วยงานภาครัฐจะหันมาให้การสนับสนุนและส่งเสริมกาแฟโรบัสต้า ซึ่งนอกเหนือจากการส่งเสริมการตลาดกับบริษัทยักษ์ใหญ่ทั่วไปแล้ว ควรจะหันมาศึกษาข้อมูลการผลิตเมล็ดกาแฟโรบัสต้าคุณภาพ ซึ่งนอกจากจะสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรชาวสวนกาแฟได้มากขึ้นแล้ว ยังสามารถยกระดับและเปลี่ยนภาพลักษณ์ของโรบัสต้าจากผู้ร้ายให้เป็นพระเอกได้อีกด้วย” โซ่กล่าวปิดท้าย
ภาพ/เรื่อง – นายโอ๋ พรชัย

ที่มาของเรื่องจาก FB: นายโอ๋ พรชัย

Monday, February 1, 2016

DIY ซ่อมแท่นชาร์จ SJ4000 Wifi ง่ายๆ ไม่ต้องซื้อใหม่

DIY ซ่อมแท่นชาร์จ SJ4000 Wifi




Advertisment



แท่นชาร์จ SJ4000 Wifi ซื้อมา พอใช้ไปนานๆ ขั้วเสียบโยก คิดว่าตะกั่วยึดกับแผ่น PCB หลุดแน่นอน เพื่อให้ใช้งานได้ต่อก็ต้องซ่อม ทำการซ่อมเปิดผาครอบไปเจอเลย แน่นอนขั่วเสียบสายชาร์จหลุด ดูจากสภาพแล้ว การบัดกรีจากโรงงานเอาแค่พออยู่จริงๆ

ทำการซ่อมใหม่ บัดกรีเพิ่มจุดเพื่อความแข็งแรง

แท่นชาร์จ SJ4000 Wifi
แท่นชาร์จ SJ4000 Wifi
บัดกรีด้านหลังแผ่น PCB แท่นชาร์จ SJ4000 Wifi
บัดกรีด้านหลังแผ่น PCB แท่นชาร์จ SJ4000 Wifi
บัดกรีด้านหลังแผ่น PCB เสร็จแล้ว
บัดกรีด้านหลังแผ่น PCB เสร็จแล้ว แท่นชาร์จ SJ4000 Wifi
ประกอบกลับ แท่นชาร์จ SJ4000 Wifi
ประกอบกลับ แท่นชาร์จ SJ4000 Wifi



Advertisment



แท่นชาร์จ SJ4000 Wifi ใช้ได้
แท่นชาร์จ SJ4000 Wifi ใช้ได้
DIY repair charger ซ่อมแท่นชาร์จ SJ4000 Wifi เสร็จแล้วก็ลอง ใช้ได้ ไม่ต้องเสียเงินซื้อ อุปกรณ์ซ่อม หัวแร้ง ตะกั่ว ไขควงแฉกปลายเล็ก เท่านี้ก็ซ่อมได้แล้ว

เรื่องรูปโดย http://likeougtravel.blogspot.com/