Wednesday, August 16, 2017

ดื่มน้ำแล้วเหม็น มันเกิดจากอะไร อยากรู้ อยากบอก

ดื่มน้ำแล้วเหม็น มันเกิดจากอะไร อยากรู้ อยากบอก

เคยใหมครับ บางครั้งกินน้ำแล้วรู้สึกเหม็น ผะอึดผะอม กินน้ำแล้วอยากจะอ๊วกออกมา กลืนแทบไม่ลง หรือกลืนเข้าไปแล้วก็คิดต่างๆ นาๆ ว่าน้ำทำไมเห็น ทำไมรดชาดแปลก ทั้งที่ดื่มจากน้ำบรรจุขวดอย่างดี มียี่ห้อ

สาเหตุ ตามความรู้สึกส่วนตัวว่าทำไมดื่มน้ำแล้วเหม็นน้ำ มีหลายปัจจัย ลองทบทวนว่ามีอะไรบ้าง

1. น้ำนั้นอาจจะตากแดด ไม่ได้แช่ตู้เย็น อาจมีกลิ่นของพลาสติก
2. กลิ่นน้ำเหมือนกลิ่นโคลน กินเข้าไปแทบจะอ๊วกออกมา
3. กลิ่นคลอลีน บางครั้งน้ำดื่มก็มีกลิ่นคลอลีน กินไม่ได้เลย
4. มีกลิ่นที่ฝาเปิด ลองสังเกตุดู ตอนดื่มจะมีกลิ่น ยิ่งกิน ก็ยิ่งมีกลิ่น แล้วลองดมกลิ่นที่ฝาคอขวด ก็ได้กลิ่น แสดงว่าปากเหม็น
5. เคยหรือไม่หลังกินอาหารคาว เราดื่มน้ำตาม แรกๆ ก็ไม่เหม็น แต่พอดื่มตามมากๆ เข้า ก็เหม็นกลิ่นคาวของอาหารนั้นซะ เป็นไงละแทบจะอ๊วก นึกถึงกลิ่นคาวของอาหารแล้ว แทบจะอ๊วก

ที่กล่าวมาเป็นเพียงความเห็นส่วนตัว แต่สาเหตุของน้ำมีกลิ่นเกิดจาก น้ำบรรจุขวดพลาสติกยิ่งเก็บนานยิ่งอันตราย

เดลิเมล์ – พบสารพิษแทรกซึมจากขวดพลาสติกเข้าสู่น้ำแร่ และยิ่งเครื่องดื่มดังกล่าวเก็บรักษาไว้นานเพียงใด ระดับสารพิษก็จะยิ่งสะสมเพิ่มมากขึ้น นับเป็นข่าวร้ายอย่างยิ่งสำหรับคอน้ำแร่ เนื่องจากผลิตภัณฑ์หลายยี่ห้อมีอายุถึง 2 ปีนับจากวันบรรจุขวด
     
       เป็นที่คาดกันว่า รายงานที่จัดทำโดย ดร. วิลเลียม โชติก ผู้เชี่ยวชาญระดับโลกที่ประกาศว่าจะไม่ดื่มน้ำดื่มบรรจุขวดอีกเด็ดขาด ซึ่งจะตีพิมพ์ลงในวารสารโซไซตี้ ออฟ เคมิสทรีในเดือนหน้านั้น จะปลุกกระแสความกังวลกับความปลอดภัยของน้ำดื่มบรรจุขวด อันเป็นอุตสาหกรรมเครื่องดื่มที่โตเร็วที่สุดในโลก มีมูลค่าถึงปีละ 1,200 ล้านดอลลาร์ ให้กลับคุโชนขึ้นอีกครั้ง หลังจากปีที่แล้ว มีรายงานว่าพบแนปทาลีนที่อาจสร้างความเสียหายรุนแรงกับตับหากเข้าสู่ร่างกายในปริมาณมาก ในน้ำแร่วอลวิก 2 ขวดในยุโรป
       
       ทั้งนี้ ผลการวิจัยของโชติกพบร่องรอยของแอนติโมนี สารเคมีที่ใช้ในการผลิตขวดโพลิเอธีลีน เทเรปทาเลต (PET) ที่ผู้จำหน่ายน้ำแร่ใช้กันทั่วไป
       
       โชติกระบุว่า แอนติโมนีปริมาณเล็กน้อยก็สามารถทำให้ผู้บริโภคป่วยและซึมเศร้า แต่หากเข้าสู่ร่างกายในปริมาณมากจะทำให้อาเจียนอย่างรุนแรงและกระทั่งเสียชีวิตได้ ในงานวิจัยย้ำว่า ปริมาณแอนติโมนีที่พบต่ำกว่าระดับที่ทางการแนะนำ แต่ที่น่ากลัวคือ ระดับของสารดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวหากน้ำแร่ถูกบรรจุขวดไว้นาน 3 เดือน
       
       ศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยไฮเดลเบิร์กในเยอรมนีผู้นี้ เสริมว่า “ผมไม่ได้อยากทำให้ผู้คนช็อค แต่สิ่งที่ผมรับรู้ก็คือ แอนติโมนีกำลังถูกปล่อยเข้าสู่น้ำดื่มบรรจุขวดมากขึ้นๆ และน้ำดื่มในขวด PET มีสารปนเปื้อน”
       
       โชติกทำการทดสอบน้ำบาดาลกับน้ำแร่บรรจุขวด 15 ประเภทในแคนาดา พบว่าน้ำบาดาลมีแอนติโมนีปะปนอยู่ 2 ส่วนต่อล้านล้าน (ppt) ขณะที่น้ำดื่มบรรจุขวดมีแอนติโมนีถึง 160 ppt เมื่อเปิดดื่มทันทีหลังบรรจุขวด แต่น้ำบาดาลที่บรรจุในขวด PET จะมีแอนติโมนี 630 ppt เมื่อเปิดหลังการบรรจุขวด 6 เดือน
       
       จากนั้น ศาสตราจารย์โชติกย้ายไปทำการทดสอบในยุโรป โดยเก็บตัวอย่างจากน้ำดื่ม 48 ยี่ห้อที่บรรจุในขวดพลาสติก PET และน้ำในโรงงานบรรจุขวดที่เมืองเบียร์ พบว่าน้ำมีปริมาณแอนติโมนี 4 ppt ก่อนบรรจุขวด, 360 ppt หลังบรรจุขวด และ 700 ppt หลังจากบรรจุขวด 3 เดือน
       
       งานวิจัยอธิบายว่า แอนติโมนีเข้าไปปนเปื้อนในน้ำจากการรั่วซึมจากพลาสติก ในแบบเดียวกับที่น้ำซึมซับรสชาติจากถุงชา
       
       กระนั้นก็ดี เจ้าหน้าที่สาธารณสุขแสดงทัศนะว่า แม้พบสารนี้ปนเปื้อนในน้ำในปริมาณมาก แต่ก็ยังต่ำกว่าระดับที่เป็นอันตรายในมาตรฐานสากล คือที่ประมาณ 6 ส่วนต่อพันล้าน
       
       เอลิซาเบธ กริสวอลด์ ผู้อำนวยการสมาคมน้ำดื่มบรรจุขวดแห่งแคนาดา สำทับว่า ระดับดังกล่าวไม่ถือว่าเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคแต่อย่างใด
       
       ทว่า เดวิด ค็อกแกน ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดต่อจากมหาวิทยาลัยเซาท์แธมป์ตันของอังกฤษ ที่ทำงานร่วมกับสภาวิจัยทางการแพทย์ เรียกร้องให้มีการวิจัยเรื่องนี้เพิ่มเติม เนื่องจากขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลมากพอเกี่ยวกับผลกระทบจากแอนติโมนี และปริมาณที่เป็นอันตรายเมื่อรับเข้าสู่ร่างกาย



Advertisment


ที่มา http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9490000036277

No comments:

Post a Comment