ผักติ้ว หรือ ผักแต้ว ป้องกันและยับยั้งมะเร็งตับ มีสารต้านอนุมูลอิสระ
ชื่อวิทยาศาสตร์ Gratoxylum formosum(Jack) Dyer ssp.pruniflorum(Kurz.) Gogelin
ชื่อวงศ์ GUTTIFERAE
ชื่ออื่นๆ ติ้วขน, ติ้วขาว ติ้าส้ม ติ้วแดง ตาว แต้วหิน
ภาพจาก http://www.emaginfo.com/?p=63863 |
ลักษณะ
ผักติ้ว ผักแต้ว เป็นไม้เบญจพรรณยืนต้น สูงประมาณ 8-12 เมตร และเป็น ผักพื้นบ้าน ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เรือนยอดกลมโปร่ง ใบออกเป็นคู่ๆ ตรงข้ามกัน ใบแก่ก่อนผลัดใบจะเป็นสีแดง ดอกสีชมพูอ่อนถึงสีแดง มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ออกตามกิ่ง เมื่อออกดอกจะออกเต็มต้นไม่มีใบเลย ออกดอกเดือนมกราคม - เมษายน ผลรูปร่างรี สีนวลขาวติดตามผิว เมื่อแก่จัดแตกออกเป็น 3 แฉก เมล็ดสีน้ำตาล จึงทำให้นิยมปลูกเพื่อความสวยงาม นอกจากนี้ต้นยังสามารถทำถ่านได้ ให้ความร้อนได้ดีกว่ากระบก อื่นๆ ใช้ทำเสา ทำด้ามจอบ เสียมการขยายพันธุ์
โดยการเพาะเมล็ด ชอบอากาศเย็น แสงแดดจัด สามารถทำได้โดยการเก็บเมล็ดติ้ว ที่แก่จัด จะเป็นสีดำนำมาตากแดดให้แห้งจนแตก แล้วร่อนเอาเมล็ดนำเมล็ดไปหว่านลงแปลงเพาะ แล้วโรยกลบบางๆ รดน้ำให้ชุ่มอยู่เสมอ จะงอกภายใน 2 เดือน เมื่อต้นกล้ามีใบจริง 2-3 ใบก็สามารถย้ายกล้าเพาะชำลงถุงได้ เมื่อนำผักแต้ว หรือติ้ว ไปปลูกต้องหมั่นเด็ดยอดและให้น้ำเป็นประจำ จะแตกยอดอ่อนกินได้
ส่วนที่ใช้เป็นอาหาร
ยอดอ่อนใช้ทานสดกินกับน้ำพริกปลาร้า มีรสเปรี้ยวอ่อนคล้ายใบกระโดน ใบและช่อใช้แกล้มลาบ ก้อย หรือนำไปแกงร่วมกับผักชนิดอื่นได้สารอาหารสำคัญในผักติ้ว ผักแต้ว
Advertisment
ผักติ้ว ผักแต้ว ในส่วนที่กินได้ 100 กรัม ให้พลังงาน 58 กิโลแคลอรี่ กากใย 2.4 กรัม โปรตีน 2.4 กรัม ไขมัน 1.7 กรัม คาร์โบไฮเดรต 8.2 กรัม ฟอสฟอรัส 19 มิลลิกรัม แคลเซียม 67 มิลลิกรัม เหล็ก 2.5 มิลลิกรัม วิตามินบี 1 0.04 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.67 มิลลิกรัม ไนอาซิน 3.1 มิลลิกรัม วิตามินซี 56 มิลลิกรัม เบต้า-แคโรทีน 450 RE
ค่าดัชนีในความเป็นสารแอนตีิออกซิแดนท์ของผักติ้ว ผักแต้ว สดอยู่ที่ 1.33 เมื่อแห้งอยู่ที่ 3.38 โดยมีองค์ประกอบต่างๆ ที่คำนวนจากพืชแห้ง 100 กรัม แบ่งตามกลุ่มสารแอนติออกซิแดนท์ 4 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ วิตามิน E 0.02 มิลลิกรัม วิตามิน C 14.94 มิลลิกรัม แคโรทีนอยด์ ได้แก่ เบต้า-แคโรทีน 1.28 มิลลิกรัม และแซนโทฟิลล์ 5.30 มิลลิกรัม สารประกอบฟีบอลิค 318.44 และแทนนิน 50.65 มิลลิกรัม
สรรพคุณ
ผักติ้ว ผักแต้ว มีสรรพคุณป้องกันและยับยั้งมะเร็งตับ ต้านอนุมูลอิสระ ใช้รากผสมกับหัวแห้วหมู และรากปลาไหลเผือก ต้มน้ำดื่มวันละ 3 ครั้ง ก่อนหรือหลังอาหารเป็นยาขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะขัดได้ซุปผักติ้ว ผักแต้ว
เครื่องปรุง
ผักติ้ว 500 กรัมพริกป่นคั่วละเอียด 2 ช้อนโต๊ะ
ข้าวคั่ว 2 ช้อน
ต้นหอม 3 ต้น
ปลาทู 2 ตัว
น้ำปลา 2 ช้อนชา
น้ำปลาร้า 2 ช้อนโต๊ะ
วิธีปรุง
- นำผักติ้ว หรือผักแต้วลวกน้ำร้อนพอสุก จากนั้นยกออกจากเตา
- ต้มปลาทูแล้วใส่น้ำปลาร้า ปลาทูสุกแล้วยกลง
- ตำผักแต้วให้ละเอียดพอประมาณ จากนั้นใส่พริกคั่วและข้าวคั่ว และตำจนเข้ากัน ใส่ปลาทูพร้อมหัวและน้ำต้มปลาทูลงไป ตามด้วยต้นหอม และปรุงรสตามต้องการ
ประโยชน์ทางอาหาร อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ อุดมไปด้วยโปรตีนจากปลา ซึ่งช่วยชลอการเสื่อมสภาพของร่างกาย
ผักพื้นบ้าน-ผักติ้ว ผักแต้ว มีประโยชน์ต่อร่างกาย เป็นอาหารพื้นบ้านชั้นเลิศ กินผักพื้นบ้านต้านโรค เป็นการดูแลสุขภาพเชิงรุก
ผักพื้นบ้านอื่นๆ
ผักพื้นบ้าน-ผักติ้ว ผักแต้ว มีประโยชน์ต่อร่างกาย เป็นอาหารพื้นบ้านชั้นเลิศ กินผักพื้นบ้านต้านโรค เป็นการดูแลสุขภาพเชิงรุก
ผักพื้นบ้านอื่นๆ
ที่มา: สำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติ
No comments:
Post a Comment