Saturday, August 26, 2017

ผักพื้นบ้าน-ผักไผ่ แก้ปวดเมื่อย รักษาโรคหืด ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ

ผักพื้นบ้าน-ผักไผ่ แก้ปวดเมื่อย รักษาโรคหืด ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ


ชื่อวิทยาศาสตร์ Polygonum odoratum
ชื่อวงศ์ POLYGONACEAE
ชื่ออื่นๆ ผักแพรว, พริกม้า, ผักขาเขียด, หอมจันทร์, จันทร์โฉม, ผักฮิน, ผักแป็ด, พะจีมี

ลักษณะ ผักไผ่ หรือ ผักแพรว หรือ ผักแพว ผักพื้นบ้านไทย เป็นไม้ล้มลุกอายุ 1 ปี พบได้ตามป่า บริเวณริมน้ำหรือตามทุ่งนา ลักษณจะมีกลิ่นหอม และมีต่อมน้ำมันทุกส่วนสูงถึง 35 เซนติเมตร ลำต้นตั้งตรงสีน้ำตาลอ่อน มีข้อเป็นระยะๆ บริเวณข้อมักมีรากงอกออกมา สามารถแยกออกไปปลูกที่ชื้นแฉะได้ ลักษณะใบเป็นใบเดี่ยวเป็นรูปหอก หรือรูปหอกแกมไข่ ขนาดกว้าง 0.8 - 1.5 เซนติเมตร ยาว 5.5 - 9 เซนติเมตร ขอบใบเรียบ ปลายใบแหลมคล้ายใบใผ่ ฐานเป็นรูปลิ่มคล้ายใบสั้น มีหูใบลักษณะเป็นปลอกหุ้มรอบลำต้นบริเวณเหนือข้อ ใบออกสลับกัน มีขนหยาบคล้ายสะเก็ด ปลายปลอกเป็นเส้นยื่นยาวหลายเส้น ยาวถึง 0.7 เซนติเมตรสามารถนำมาสกัดน้ำมันหอมระเหยได้  ออกดอกเป็นช่อ ดอกย่อยขนาดเล็กสีขาวนวลหรือชมพูม่วง ผลขนาดเล็ก

การขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด หรือนำต้นอ่อนไปปลูก ชอบขื้นบริเวณที่ชื้นแฉะ มีความชื้นสูง มีร่มเงา มีความอุดมสมบูรณ์ของดินดี

ส่วนที่ใช้เป็นอาหาร ยอดอ่อนและใบอ่อน ทานสดคู่กับน้ำพริก ลาบ ก้อย ทางภาคเหนือนิยมซอยใส่ในลาบ หรือ ยำไก่ เพิ่มความหอมอร่อย หรือจะใช้เป็นเครื่องปรุงเนื่องจากกลิ่นของผักไผ่ช่วยดับกลิ่นคาวของอาหารได้ดีเยี่ยม

สารสำคัญ ยอดและใบอ่อนในส่วนที่กินได้ 100 กรัม ให้พลังงาน 54 กิโลแคลอรี กากใย 1.9 กรัม ฟอสฟอรัส 272 มิลลิกรัม แดลเซียม 79 มิลลิกรัม เหล็ก 2.9 มิลลิกรัม วิตามิน บี 1  0.05 มิลลิกรัม วิตามิน บี 2  0.59 มิลลิกรัม ไนอาซิน 1.7 มิลิกรัม  วิตามินซี 77 มิลลิกรัม
       ค่าดัชนีในความเป็นสารแอนติออกซิเดนท์ของผักไผ่สดอยู่ที่ 2.7 เมื่อแห้งอยู่ที่ 3.68 โดยมีองค์ประกอบต่างๆ ที่คำนวนจากพืชแห้ง 100 กรัม แบ่งตามกลุ่มสารแอนติออกซิเดนท์ 4 กลุ่มใหญ่ วิตามินอี 0.0085 มิลลิกรัม วิตามินซี 15.85 มิลลิกรัม แคทีนอยด์ ได้แก่ เบต้าแคโรทีน 2.55 มิลลิกรัม และแซนโทฟิลล์ 2.12 มิลลิกรัม สารประกอบฟีนอลิค 329.0 มิลลิกรัม และแทนนิน 17.68 มิลลิกรัม


Advertisment


ค่าดัชนีแอนติออกซิเดนท์ คือ ตัวเลขที่ชี้ถึงศักยภาพของการต้านอนุมูลอิสระของผักพื้นบ้าน ถ้ามีค่าตั้งแต่ 12.00 ขึ้นไป ถือว่าสูง  มีค่า 6.00-11.99 ถือว่าปานกลาง และ มีค่า 1.00-5.99 จะมีค่าน้อย
 อ้างอิงจาก "ผักพื้นบ้านต้านอุมูลอิสระ" โดย ผศ.ดร. นวลศรี รักอริยะธรรม ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ ม.เชียงใหม่ เกษตรกรรมธรรมชาติ ฉบับที่ 6/2551

สรรพคุณ รากใช้แก้ริดสีดวง แก้ปวดเมื่อยตามร่างกายและ้อกระดูก รักษาหืด ไอ แก้เจ็บท้อง ท้องเฟ้อ ดอก ขับเหงื่อ รักษาโรคปอด แก้เจ็บท้อง ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ ช่วยเจริญอาหาร น้ำคั้นจากใบสดใช้รักษาอาการตามผิวหนัง กลาก เกลื้อน ผดผื่นคัน

เมนูอาหารจากผักไผ่ ต้มยำผักไผ่ใส่เห็ด

เครื่องปรุง

  • อกไก่ 1 ชิ้น ลอกเอาหนังออก
  • เห็ดฟาง 5 - 6 ดอก
  • พริกแห้ง 4-5 เม็ด
  • หอมแดง 5-6 หัว
  • กระเทียม 1 หัว
  • ตะไคร้ 1 ต้น
  • กะปิ 1 ช้อนชา
  • เกลือ น้ำมะนาว
  • ผักไผ่ 500 กรัม
วิธีทำ
  1. ต้มไก่กับเห็ดให้สุกก่อนแล้วนำเนื้อไก่ออกมาฉีกเป็นเส้น
  2. เผาพริกแห้ง หอมแดง กระเทียม ตะไคร้ โดยใช้ใบตองห่อแล้วเผา
  3. เอาไส้พริกออกซอยตะไคร้แล้วโขลกุกอย่างกับเกลือจนละเอียด
  4. นำน้ำต้มไก่มาตั้งไฟอีกครั้ง ละลายน้ำพริกลงไป พอน้ำเดือดตามด้วยไก่ และเห็ด ปรุงรสด้วยน้ำปลา และมะนาว และซอยผักไผ่ลงไปก่อนเสิร์ฟ 

ประโยชน์และคุณค่าทางอาหาร มีโปรตีนทั้งจากเนื้อสัตว์และพืช เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการท้องอืดท้องเฟ้อ

ผักไผ่ เป็นผักพื้นบ้านไทยที่มีมานาน และนิยมกินกันมาก กับลาบ หรือกินดิบ ใครที่ไม่เคยลองแรกชิมก็จะร้อนนิดๆ แต่กินบ่อยๆ ก็จะชอบผักพื้นบ้านชนิดนี้ Chai's Blogs ยังชอบเลย กินกับลาบสุดๆ จริงๆ

ผักพื้นบ้านอื่นๆ

No comments:

Post a Comment